Global searching is not enabled.
ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

25 รายวิชาทั้งหมด

วิชาเรียนระดับชั้น ม.6

การผลิตสื่อประสม

คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาระบบคอมพิวเตอร์สำหรับงานสื่อผสม ความรู้เกี่ยวกับสื่อผสม องค์ประกอบของสื่อผสม ได้แก่ ภาพนิ่ง ตัวอักษร ภาพเคลื่อนไหว เสียงและวิดีโอ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสื่อผสม ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในงานด้านสื่อผสม การวิเคราะห์และออกแบบระบบสื่อผสม หลักการสร้างสื่อผสม ประโยชน์ของสื่อผสม การประยุกต์ใช้งานสื่อผสม การเชื่อมข้อมูล หลักการสื่อหลายมิติ การสร้างข้อความหลายมิติ

    ปฏิบัติการสร้างงานแบบสื่อผสมและการใช้โปรแกรมสำหรับนำเสนองานสื่อผสม เพื่อนำเสนองานต่างๆ ออกแบบและสร้างสื่อการนำเสนอในรูปแบบสื่อผสม โดยใช้หลักการ วิธีการขั้นตอนการออกแบบสื่อผสม ความสามารถในการนำเอาสื่อผสมไปประยุกต์ใช้งานด้านต่างๆได้อย่างเหมาะสม การเลือกใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในงานด้านสื่อผสม มีทักษะกระบวนการในการสร้างงานแบบสื่อผสม เพื่อให้มีทักษะในการทำงาน 

   มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ใฝ่เรียนรู้ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจิตสำนึกและรับผิดชอบ มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

อาจารย์: นายสุรเชษฐ์ ช่วยดู

กิจกรรมแนะแนว

     

          กิจกรรมแนะแนว  คือกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักศักยภาพของตนเอง เข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น สามารถนำศักยภาพของตนเองมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด สามารถอยู่ร่วมกับผู่อื่น มีชีวิตอย่างมีความสุขตามอัตภาพ 

งานแนะแนว
วิชาเรียนระดับชั้น ม.6
Preview Course
ฟิสิกส์ ม.6 ภาคเรียนที่ 1
วิชาเรียนระดับชั้น ม.6
Preview Course

อาจารย์: ฮ่าหลีม๊ะ บิลรัตน์แก้ว

ฟิสิกส์ ม.6 ภาคเรียนที่ 1

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา                   ว30204 ฟิสิกส์ (ฉบับให้ ม.6 ทบทวนความรู้เดิม) สสวท.

ประเภท                   รายวิชาเพิ่มเติม                                                          

กลุ่มสาระการเรียนรู้       วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี     

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่         6       

ภาคเรียนที่                 1                 

เวลาเรียน                 60  ชั่วโมง        

จำนวน                     1.5  หน่วยกิต

ครูผู้สอน                   นางสาวฮ่าหลีม๊ะ  บิลรัตน์แก้ว 

         

                ศึกษาการเกิดเสียง การเคลื่อนที่ของเสียง การสะท้อน การหักเห การแทรกสอด และการเลี้ยวเบนของคลื่นเสียง การได้ยินเสียง ความเข้มเสียง คุณภาพเสียง มลพิษทางเสียง คลื่นนิ่งของเสียง การสั่นพ้องของเสียง การเกิดบีต ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ คลื่นกระแทกของเสียง ธรรมชาติของไฟฟ้าสถิต การเหนี่ยวนำไฟฟ้าสถิต กฎของคูลอมบ์ สนามไฟฟ้า ศักย์ไฟฟ้า ความต่างศักย์ ความจุและพลังงานสะสมในตัวเก็บประจุ การต่อตัวเก็บประจุ กระแสไฟฟ้าในลวดตัวนำ กฎของโอห์ม สภาพต้านทาน การต่อตัวต้านทาน อีเอ็มเอฟของแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง พลังงานไฟฟ้า กำลังไฟฟ้า การต่อแบตเตอรี่ การวิเคราะห์วงจร ไฟฟ้ากระแสตรง การเปลี่ยนพลังงานทดแทนเป็นพลังงานไฟฟ้า และเทคโนโลยีด้านพลังงาน โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล การสังเกต วิเคราะห์ เปรียบเทียบ อธิบาย อภิปราย และสรุป เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ มีความสามารถในการตัดสินใจ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการคิดและการแก้ปัญหา สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำ ความรู้ไปใช้ในชีวิตของตนเอง มีจิตวิทยา ศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

 

ผลการเรียนรู้ที่

1. อธิบายการเกิดเสียง การเคลื่อนที่ของเสียง ความสัมพันธ์ระหว่างคลื่นการกระจัดของอนุภาคกับคลื่นความดัน ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเร็วของเสียงในอากาศที่ขึ้นกับอุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียส การสะท้อน การหักเห การแทรกสอด การเลี้ยวเบน ของคลื่นเสียง รวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

2. อธิบายความเข้มเสียง ระดับเสียง องค์ประกอบของการได้ยิน คุณภาพเสียง และมลพิษทางเสียง รวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

3. ทดลองและอธิบายการเกิดการสั่นพ้องของอากาศในท่อปลายเปิดหนึ่งด้าน รวมทั้งสังเกตและอธิบายการเกิดบีต คลื่นนิ่ง ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ คลื่นกระแทกของเสียง คำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำความรู้เรื่องเสียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน

4. ทดลองและอธิบายการทำวัตถุที่เป็นกลางทางไฟฟ้าให้มีประจุไฟฟ้าโดยการขัดสีกันและการเหนี่ยวนำไฟฟ้าสถิตย์

5. อธิบายและคำนวณแรงไฟฟ้าตามกฎของคูลอมบ์

6. อธิบายและคำนวณสนามไฟฟ้าและแรงไฟฟ้าที่กระทำกับอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าที่อยู่ในสนามไฟฟ้า รวมทั้งหาสนามไฟฟ้าลัพธ์เนื่องจากระบบจุดประจุโดยรวมกันแบบเวกเตอร์

7. อธิบายและคำนวณพลังงานศักย์ไฟฟ้า ศักย์ไฟฟ้า และ ความต่างศักย์ระหว่างสองตำแหน่งใด ๆ

8. อธิบายส่วนประกอบของตัวเก็บประจุ ความสัมพันธ์ระหว่างประจุไฟฟ้า ความต่างศักย์ และความจุของตัวเก็บประจุ และอธิบายพลังงานสะสมในตัวเก็บประจุ และความจุสมมูล รวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. นำความรู้เรื่องไฟฟ้าสถิตไปอธิบายหลักการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิด และปรากฏการณ์ในชีวิตประจำวัน

10. อธิบายการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระและกระแสไฟฟ้าในลวดตัวนำ ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้าในลวดตัวนำ กับความเร็วลอยเลื่อนของอิเล็กตรอนอิสระ ความหนาแน่นของอิเล็กตรอนในลวดตัวนำ และพื้นที่หน้าตัดของลวดตัวนำ และคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

11. ทดลองและอธิบายกฎของโอห์ม อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความต้านทานกับความยาวพื้นที่หน้าตัด และสภาพต้านทานของตัวนำ โลหะที่อุณหภูมิคงตัว และคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง อธิบายและคำนวณความต้านทานสมมูลเมื่อนำ ตัวต้านทานมาต่อกันแบบอนุกรมและแบบขนาน

12. ทดลอง อธิบาย และคำนวณอีเอ็มเอฟของแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง รวมทั้งอธิบายและคำนวณพลังงานไฟฟ้า และกำลังไฟฟ้า

13. ทดลองและคำนวณอีเอ็มเอฟสมมูลจากการต่อแบตเตอรี่แบบอนุกรมและแบบขนาน รวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในวงจรไฟฟ้ากระแสตรงซึ่งประกอบด้วยแบตเตอรี่และตัวต้านทาน

14. อธิบายการเปลี่ยนพลังงานทดแทนเป็นพลังงานไฟฟ้า รวมทั้งสืบค้นและอภิปรายเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่นำมาแก้ปัญหาหรือตอบสนองความต้องการทางด้านพลังงาน โดยเน้นด้านประสิทธิภาพและความคุ้มค่าด้านค่าใช้จ่าย

 

รวมทั้งหมด   14   ผลการเรียนรู้

วิทยาการคำนวณ ม.6 ภาคเรียนที่ 1 (6/1-6/4)
วิชาเรียนระดับชั้น ม.6
Preview Course

วิชาเรียนระดับชั้น ม.6

วิทยาการคำนวณ ม.6 ภาคเรียนที่ 1 (6/1-6/4)

คณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.6
วิชาเรียนระดับชั้น ม.6
Preview Course

อาจารย์: ธนัช ประดับศรีอาจารย์: ปัทมา แก้วเจริญ

คณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.6

คำอธิบายรายวิชา

 

รายวิชา คณิตศาสตร์                          รหัสวิชา ค33101       กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6                           เวลา  40 ชั่วโมง                  จำนวน   1.0  หน่วยกิต 

............................................................................................................................................................

 

ศึกษา  ฝึกทักษะการคิดคำนวณ  และฝึกการแก้ปัญหาเพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหา มีความสามารถในการใช้เหตุผลและสามารถนำไปใช้ได้ในสาระความรู้เกี่ยวกับ  สถิติศาสตร์ คำสำคัญสถิติศาสตร์ประเภทของข้อมูล สถิติศาสตร์เชิงพรรณนาและสถิติศาสตร์เชิงอนุมาน การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพ

โดยจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า โดยปฏิบัติจริง ทดลอง สรุป รายงาน เพื่อพัฒนาทักษะ/กระบวนการในการคิดคำนวณ  การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และนำประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิด ทักษะกระบวนการ ที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์

ตระหนักในคุณค่าและมีเจคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ มีความสามารถในการทำงาน อย่างมีระบบมีระเบียบ  มีความรอบคอบ มีความรับผิดชอบ  มีวิจารณญาณ และมีความเชื่อมั่นในตนเองตามวิถีปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยบูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 

 

ตัวชี้วัด 

ค 3.1 ม 6/1    

 

สังคมศึกษา ม.6 ภาคเรียนที่ 1
วิชาเรียนระดับชั้น ม.6
Preview Course

อาจารย์: Angkana Pitchayadol

สังคมศึกษา ม.6 ภาคเรียนที่ 1

ส33101  สังคมศึกษา                         

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6      ภาคเรียนที่ 1                  

เวลา  40 ชั่วโมง     จำนวน  1.0 หน่วยกิต

 

ศึกษาวิเคราะห์ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของมนุษยชาติ  สร้างองค์ความรู้ใหม่ ทางประวัติศาสตร์โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบ เห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์ ศึกษาและวิเคราะห์ประเด็นสำคัญของประวัติศาสตร์ไทย บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีต่อชาติไทย  ในด้านต่างๆ ตลอดจนอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยภูมิปัญญา ใช้กระบวนการทางประวัติศาสตร์  ในการสืบหาความรู้ ค้นข้อมูล อภิปราย วิเคราะห์ และสรุป เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถสื่อสาร มีเหตุมีผลเกิดความตระหนัก รัก หวงแหน และภูมิใจในความเป็นชาติ มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ ตามแบบอย่างบรรพบุรุษในประวัติศาสตร์ และยึดแนวทางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   โดยใช้ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์  คิดอย่างมีวิจารณญาณ มุ่งแสวงหาความรู้ มีคุณธรรม และลักษณะอันพึงประสงค์ มีเจตคติที่ดีต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย เกิดความตระหนัก รักหวงแหนและภาคภูมิใจในความเป็นไทย

 

รหัสตัวชี้วัด

ส 4.1        ม.4-6/1,ม.4-6/2

ส 4.3        ม.4-6/1,ม.4-6/2

รวมทั้งหมด  4  ตัวชี้วัด

คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ม.6 ภาคเรียนที่ 1
วิชาเรียนระดับชั้น ม.6
Preview Course

อาจารย์: นายอับดุลวาฮับ ชุมสาแหละ

คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ม.6 ภาคเรียนที่ 1

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ค33201     กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6     จำนวน 1.5 หน่วยกิต    รวม 60 ชั่วโมง/ภาคเรียน

 

       ศึกษา  ฝึกทักษะ/กระบวนการในสาระต่อไปนี้  ลำดับอนันต์  และอนุกรมอนันต์ ลิมิตของลำดับ  ผลบวกของอนุกรมอนันต์  แคลคูลัสเบื้องต้น      ลิมิตของฟังก็ชัน  ความต่อเนื่องของฟังก์ชัน  อนุพันธ์ของฟังก์ชัน  การหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันพีชคณิตโดยใช้สูตร  อนุพันธ์ของฟังก์ชันคอมโพสิท  อนุพันธ์ อันดับสูง   ปริพันธ์ไม่จำกัดเขต  ปริพันธ์จำกัดเขต  พื้นที่ที่ปิดล้อมด้วยเส้นโค้ง 

       โดยจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าโดยการปฏิบัติจริง  ทดลอง  สรุป  รายงาน  เพื่อพัฒนาทักษะ/กระบวนการในการคิด คำนวณ  การแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์  และนำประสบการณ์ด้านความรู้  ความคิด  ทักษะกระบวนการที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ  และ ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ 

       รวมทั้งเห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์  สามารถทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ  มีความรอบคอบ  มีความรับผิดชอบ  มีวิจารณญาณ  และมีความเชื่อมั่นในตนเอง

       การผลและประเมินผล  ใช้วิธีการที่หลากหลายตามสภาพความเป็นจริงให้สอดคล้องกับ เนื้อหาและทักษะที่ต้องการวัด

 

 

ผลการเรียนรู้

1.       มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องลำดับอนันต์และ อนุกรมอนันต์    

2.       มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องลิมิตของฟังก์ชัน  ฟังก์ชันต่อเนื่อง  อนุพันธ์ และปริพันธ์ของฟังก์ชัน

3.       หาลิมิตของฟังก์ชันที่กำหนดให้ได้

4.       นำความรู้เรื่องลำดับและอนุกรม  ไปใช้แก้ปัญหาได้

5.       นำความรู้เรื่องอนุพันธ์ของฟังก์ชันไปใช้ในการแก้ปัญหาบางประการได้

6.       หาปริพันธ์ของฟังก์ชันที่กำหนดให้ได้และหาปริพันธ์จำกัดเขตบนช่วงที่ กำหนดให้ได้

7.       หาพื้นที่ปิดล้อมด้วยเส้นโค้งบนช่วงที่กำหนดให้ได้

ภาษาอังกฤษรอบรู้ 1
วิชาเรียนระดับชั้น ม.6
Preview Course

อาจารย์: กนกทิพย์ สามห้วย

ภาษาอังกฤษรอบรู้ 1

ปฏิบัติตามคำแนะนำ คำบรรยาย และให้คำแนะนำ  คำอธิบาย และใช้คำขอร้องอย่างคล่องแคล่ว  อ่านออกเสียงข้อความ ข่าว และโฆษณาถูกต้องตามหลักการอ่าน อธิบายประโยคและข้อความให้สัมพันธ์กับสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบต่างๆ  จับใจความสำคัญ สรุปความ ตีความ และแสดงความคิดเห็นจากการฟังและอ่านเรื่องที่เป็นสารคดีและบันเทิงคดี พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ  สนทนาและเขียนโต้ตอบข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อม อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องแต่งกาย เวลาว่างและนันทนาการ สุขภาพ การซื้อ-ขาย ลมฟ้าอากาศ อุบัติเหตุ ภัยพิบัติ อาชญากรรม การเดินทางท่องเที่ยว กีฬา สถานที่ ประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสังคม  พูดและเขียนขอร้อง แสดงความต้องการ เสนอ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือ  บรรยายความรู้สึกและความคิดเห็น  ขอและให้ข้อมูล  อธิบาย เปรียบเทียบเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน  นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ประสบการณ์ ข่าว/เหตุการณ์ ประเด็นต่างๆ ที่อยู่ในความสนใจของสังคมทั้งในท้องถิ่น สังคม และโลก  รวมทั้งสรุปใจความสำคัญและแสดงความคิดเห็น โดยใช้ภาษา น้ำเสียง และกิริยาท่าทางเหมาะกับระดับของบุคคล โอกาส และสถานที่ตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ทั้งในสถานการณ์จริง/สถานการณ์จำลอง  เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษา  อธิบาย/อภิปราย และวิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างวิถีชีวิต ความเชื่อ และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับของไทย รวมถึงโครงสร้างประโยค  ใช้ภาษาต่างประเทศในการค้นคว้า รวบรวม สรุปความรู้/ข้อมูลต่างๆ ในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ  และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นจากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ  ตลอดจนเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารของโรงเรียน ชุมชนและท้องถิ่น/ประเทศชาติเป็นภาษาต่างประเทศ โดยใช้แนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร  กระบวนการสอนทักษะทางภาษา และจัดกระบวนการกลุ่ม การอภิปราย สถานการณ์จริง สถานการณ์จำลอง การแสดงความคิดเห็น การวิเคราะห์เรื่อง/ข่าว/เหตุการณ์ที่อยู่ในความสนใจของสังคม  เพื่อให้ผู้เรียนใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารระหว่างบุคคล  และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนและสังคมโลกได้อย่างเหมาะสม  รวมทั้งเข้าใจความเหมือนและความแตกต่างของวัฒนธรรม  มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ

อาจารย์: นางสาวนพมาศ สุวรรณสิงห์

ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร 5

คำอธิบายรายวิชา

33201   ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร 5     ม. 6  ภาคเรียนที่ 1      2ชั่วโมง    0.5   หน่วยกิต

          ใช้ภาษาจีนในการสืบค้นหรือค้นคว้ารวบรวมวิเคราะห์และสรุปความรู้ข้อมูลต่าง ๆ จากสื่อและแหล่งเรียนรู้ต่างๆในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ  เข้าร่วม แนะนำ และจัดกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมของจีนตามความสนใจ  เผยแพร่หรือประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของโรงเรียน ชุมชน และท้องถิ่น ประเทศเป็นภาษาจีน  ปฏิบัติตามคำสั่ง คำแนะนำ คำขอร้อง คำชี้แจง และคำอธิบายที่ฟังและอ่าน    ใช้คำขอร้อง คำแนะนำ คำชี้แจง และคำอธิบายในสถานการณ์ต่าง ๆ   เลือกใช้ภาษาน้ำเสียง กิริยาท่าทาง เหมาะกับบุคคลและโอกาสตามมารยาทสังคมวัฒนธรรมของจีนและประเทศอาเซียน   ใช้ภาษาจีนสื่อสารในสถานการณ์จริงหรือสถานการณ์จำลองที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ชุมชน และ สังคมโลก พูดและเขียนแสดงความรู้สึก ความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับเรื่องใกล้ตัวพร้อมให้เหตุผลประกอบ 

 

ผลการเรียนรู้

1.ใช้ภาษาจีนในการสืบค้นหรือค้นคว้ารวบรวมวิเคราะห์และสรุปความรู้ข้อมูลต่าง ๆ จากสื่อและแหล่งเรียนรู้ ต่างๆในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ

2. เข้าร่วม แนะนำ และจัดกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมของจีนตามความสนใจ

3. เผยแพร่หรือประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของโรงเรียน ชุมชน และท้องถิ่น ประเทศเป็นภาษาจีน

4. ปฏิบัติตามคำสั่ง คำแนะนำ คำขอร้อง คำชี้แจง และคำอธิบายที่ฟังและอ่าน

5. ใช้คำขอร้อง คำแนะนำ คำชี้แจง และคำอธิบายในสถานการณ์ต่าง ๆ

6. พูดและเขียนแสดงความรู้สึก ความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับเรื่องใกล้ตัวพร้อมให้เหตุผลประกอบ

7. พูดและเขียนแสดงความต้องการ ขอและเสนอให้ความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธในสถานการณ์ต่างๆ

8. เลือกใช้ภาษาน้ำเสียง กิริยาท่าทาง เหมาะกับบุคคลและโอกาสตามมารยาทสังคมวัฒนธรรมของจีนและประเทศอาเซียน     

9. ใช้ภาษาจีนสื่อสารในสถานการณ์จริงหรือสถานการณ์จำลองที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ชุมชน และ สังคมโลก10. พูดและเขียนบรรยายแสดงความรู้สึกและความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ กิจกรรม ประสบการณ์ ข่าว เหตุการณ์พร้อมให้เหตุผลประกอบ

 

        รวม  10 ผลการเรียนรู้

 

 

 

 

 

 

 

 


ภาษาอังกฤษ  ม.6
วิชาเรียนระดับชั้น ม.6
Preview Course

อาจารย์: Mr. Parptawan Hameson

ภาษาอังกฤษ ม.6

คำอธิบายรายวิชา

33101   ภาษาอังกฤษ    ม. 6   ภาคเรียนที่ 1   40  ชั่วโมง      1.0  หน่วยกิต

อ่านออกเสียงข้อความ ข่าว ประกาศ ถูกต้องตามหลักการอ่าน ปฏิบัติตามคำแนะนำในคู่มือการใช้งานต่างๆ  เลือกและใช้คำขอร้อง คำชี้แจง คำอธิบาย และคำบรรยาย ให้คำแนะนำ  พูดและเขียนแสดงความต้องการ เสนอและให้ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ จำลองหรือสถานการณ์จริงอย่างเหมาะสม อธิบาย ระบุและเขียนประโยค ข้อความให้สัมพันธ์กับสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบต่างๆ ที่อ่าน วิเคราะห์ เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างโครงสร้างประโยค  ข้อความ สำนวน คำพังเพย สุภาษิต บทกลอน วิถีชีวิต  ความคิด ความเชื่อ  ที่มาของขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับของไทย  และนำไปใช้อย่างมีเหตุผล  สืบค้น  ค้นคว้า  รวบรวม  วิเคราะห์  บันทึกสรุป นำเสนอความรู้/ข้อมูลต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นจากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ  ในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ เผยแพร่/ประชาสัมพันธ์  ข้อมูล  ข่าวสารของโรงเรียน  ชุมชน  และท้องถิ่น/ประเทศชาติเป็นภาษาต่างประเทศ  สื่อสารอย่างต่อเนื่อง เหมาะสมในสถานการณ์จริง/สถานการณ์จำลองที่เกิดขึ้นในห้องเรียน  สถานศึกษา  ชุมชนและสังคม เพื่อขอและให้ และนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง และเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว บรรยาย  อธิบาย  เปรียบเทียบ วิเคราะห์ตีความ สะท้อนความรู้สึก และแสดงความคิดเห็นของตนเอง พร้อมทั้งให้เหตุผลและยกตัวอย่างประกอบ รวมทั้งสรุปใจความสำคัญ แก่นสาระที่ได้จากการวิเคราะห์เรื่องที่เป็นสารคดี และบันเทิงคดี กิจกรรม ประเด็น/ข่าว/เหตุการณ์  ประสบการณ์  สถานการณ์  ในสังคมและโลก ประเด็นที่อยู่ในความสนใจอย่างมีเหตุผล เข้าร่วม  แนะนำ  และจัดกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมอย่างเหมาะสมโดยเลือกใช้ภาษา  น้ำเสียงและกิริยาท่าทางเหมาะสมกับระดับของบุคคล  เวลา  โอกาส  และสถานที่ตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา เป็นผู้ที่มีความ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้  มุ่งมั่นในการทำงาน

ตัวชี้วัด     ต1.1 ม.6 /1 – 4 ,ต1.2 ม.6 /1 – 5, ต1.3 ม.6 /1 – 3 ,ต2.1 ม.6 /1 – 3, ต2.2 

             ม.6 /1 – 2, ต3.1 ม.6 /1 ,ต4.1 ม.6 /1  ,ต4.2 ม.6 /1 – 2        รวม 21 ตัวชี้วัด



อาจารย์: นางสาวเสาวลักษณ์​ นวนทอง

โครงงานภาษาไทย ม.6

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

รายวิชาโครงงานภาษาไทย                      รหัสวิชา ท ๓๓๒๐๑                      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖

เวลา ๔๐ ชั่วโมง/ภาคเรียน                     จำนวน ๑.๐ หน่วยกิต                          ภาคเรียนที่ ๑

อาจารย์: กนกวรรณ ส่อสืบ

ภาษาไทย 5 ภาคเรียนที่ 1 ม.6

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้   ภาษาไทย                                                             สาระการเรียนรู้พื้นฐาน

รายวิชา  ภาษาไทย 5  รหัสวิชา   ท33101                                      จำนวน   1.0   หน่วยกิต

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6  ภาคเรียนที่  1                                                   เวลาเรียน   40  ชั่วโมง

           ศึกษา วิเคราะห์ และฝึกทักษะการอ่าน การเขียน การฟัง การดู การวิเคราะห์และประเมินค่าวรรณคดีและวรรณกรรม โดยฝึกทักษะเกี่ยวกับอ่านออกเสียง ตีความ แปลความ และขยายความ ตอบคำถาม คาดคะเนเหตุการณ์เรื่องที่อ่าน วิเคราะห์ วิจารณ์ แสดงความคิดเห็นโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน และเสนอความคิดใหม่อย่างมีเหตุผล  ฝึกทักษะการเขียนบรรยาย เขียนพรรณนา โน้มน้าว โครงการและรายงานการดำเนินโครงการ  รายงานการประชุม ในด้านต่างๆ ฝึกทักษะการแสดงความคิดเห็นและประเมินเรื่องที่ฟังและดู

           วิเคราะห์วิถีไทย ประเมินค่าความรู้และข้อคิดจากวรรณคดีวรรณกรรมเรื่อง ขุนช้างขุนแผน กาพย์เห่เรือ ท่องจำบทอาขยานที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ

           โดยใช้กระบวนการอ่าน เพื่อสร้างความรู้ความคิดนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต กระบวนการเขียนเขียนสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการฟัง การดู และการพูด สามารถเลือกฟัง ดู และพูดแสดงความรู้ความคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์ เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษา  ภูมิปัญญาทางภาษา วิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง  รักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ และมีนิสัยรักการอ่าน การเขียน  มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง และ การดู

 

              ตัวชี้วัด

              ท 1.1          ม.6/1       ม.6/2      ม.6/4      ม.6/6       ม.6/7      ม.6/8       

              ท 2.1         ม.6/1            

              ท 3.1         ม.6/1         ม.6/2      ม.6/3    

              ท 4.1         ม.6/4       ม.6/7

              ท 5.1         ม.6/1        ม.6/2      ม.6/3      ม.6/4     ม.6/6

              รวม  17  ตัวชี้วัด


อาจารย์: ลิวัศยา โอทอง

เคมีเพิ่มเติม 5 ม. 6 ภาคเรียนที่ 1

คำอธิบายรายวิชา

สืบค้นข้อมูลและนำเสนอตัวอย่างสารประกอบอินทรีย์ที่มีพันธะเดี่ยว พันธะคู่ และพันธะสาม เขียนสูตรโครงสร้างลิวอิส สุตรโครงสร้างแบบย่อ และสูตรโครงสร้างแบบเส้นของสารประกอบอินทรีย์ วิเคราะห์โครงสร้างและระบุประเภทของสารประกอบอินทรีย์จากหมู่ฟังก์ชัน  เขียนสูตรโครงสร้างและเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ประเภทต่างๆที่มีหมู่ฟังก์ชันไม่เกิน 1 หมู่ ตามระบบ IUPAC  เขียนไอโซเมอร์โครงสร้างตามหมู่ฟังก์ชันประเภทต่างๆ วิเคราะห์และเปรียบเทียบจุดเดือดและการละลายในน้ำของสารประกอบอินทรีย์ ที่มีหมู่ฟังก์ชัน ขนาดโมเลกุล หรือโครงสร้างต่างกัน ระบุประเภทของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนและเขียนผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาการเผาไหม้ ปฏิกิริยากับโบรมีน หรือปฏิกิริยากับโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต เขียนสมการเคมีและอธิบายการเกิดปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน ปฏิกิริยาการสังเคราะห์เอไมด์ ปฏิกิริยาการไฮโดรไลซิส และปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน ทดสอบฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน ปฏิกิริยาการสังเคราะห์เอไมด์ ปฏิกิริยาการไฮโดรไลซิส และปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน สืบค้นข้อมูล และนำเสนอตัวอย่างการนำสารประกอบอินทรีย์ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและอุตสาหกรรม ระบุประเภทของปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์จากโครงสร้างของมอนอเมอร์ หรือพอลิเมอร์ วิเคราห์และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและสมบัติของพอลิเมอร์ รวมทั้งการนำไปใช้ประโยขน์ ทดสอบและระบุประเภทของพลาสติกและผลิตภัณฑ์ยาง รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์ อธิบายผลการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง และการสังเคราะห์พอลิเมอร์ที่มีต่อสมบัติของพอลิเมอร์ สืบค้นข้อมูลและนำเสนอตัวอย่างผลกระทบจากการใช้และการกำจัดผลิตภัณฑ์พอร์ลิเมอร์และแนวทางแก้ไข 

         โดยใช้การเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะความรู้ การสำรวจตรวจสอบ สามารถนำความรู้และหลักการใช้ประโยชน์ เชื่อมโยง อธิบายปรากฏการณ์ หรือแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน สามารถจัดกระทำและวิเคราะห์ข้อมูลื สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหา มีจิตวิทยาศาสตร์ เห็นคุณค่าของวิทยาศาสตร์ มีจริธรรม คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม

ผลการเรียนรู้ 

  1. สืบค้นข้อมูลและนำเสนอตัวอย่างสารประกอบอินทรีย์ที่มีพันธะเดี่ยว พันธะคู่ และพันธะสามที่พบในชีวิตประจำวัน
  2. เขียนสูตรโครงสร้างลิวอิส สูตรโครงสร้างแบบย่อ และสูตรโครงสร้างแบบเส้นของสารประกอบอินทรีย์
  3. วิเคราะห์โครงสร้างและระบุประเภทของสารประกอบอินทรีย์จากหมู่ฟังก์ชัน
  4. เขียนสูตรโครงสร้างและเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ประเภทต่างๆที่มีหมู่ฟังก์ชันไม่เกิน 1 หมู่ ตามระบบ IUPAC
  5. เขียนไอโซเมอร์โครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์ประเภทต่างๆ
  6. วิเคราะห์และเปรียบเทียบจุดเดือดและการละลายในน้ำของสารประกอบอินทรีย์ ที่มีหมู่ฟังก์ชัน ขนาดโมเลกุล หรือโครงสร้างต่างกัน
  7. ระบุประเภทของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนและเขียนผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาการเผาไหม้ ปฏิกิริยากับโบรมีน หรือปฏิกิริยากับโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต
  8. เขียนสมการเคมีและอธิบายการเกิดปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน ปฏิกิริยาการสังเคราะห์เอไมด์ ปฏิกิริยาการไฮโดรไลซิส และปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน
  9. ทดสอบฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน ปฏิกิริยาการสังเคราะห์เอไมด์ ปฏิกิริยาการไฮโดรไลซิส และปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน
  10. สืบค้นข้อมูล และนำเสนอตัวอย่างการนำสารประกอบอินทรีย์ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและอุตสาหกรรม
  11. ระบุประเภทของปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์จากโครงสร้างของมอนอเมอร์ หรือพอลิเมอร์
  12. วิเคราห์และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและสมบัติของพอลิเมอร์ รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์
  13. ทดสอบและระบุประเภทของพลาสติกและผลิตภัณฑ์ยาง รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์
  14. อธิบายผลการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง และการสังเคราะห์พอลิเมอร์ที่มีต่อสมบัติของพอลิเมอร์
  15. สืบค้นข้อมูลและนำเสนอตัวอย่างผลกระทบจากการใช้และการกำจัดผลิตภัณฑ์พอร์ลิเมอร์และแนวทางแก้ไข

การเขียนโปรแกรมขั้นสูง ม.6/2 ภาคเรียนที่ 1
วิชาเรียนระดับชั้น ม.6
Preview Course

วิชาเรียนระดับชั้น ม.6

การเขียนโปรแกรมขั้นสูง ม.6/2 ภาคเรียนที่ 1

คำอธิบายรายวิชา

ว33261  รายวิชาเพิ่มเติม (การเขียนโปรแกรมขั้นสูง)     
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6      
จำนวน 1 หน่วยกิต
เวลา 40 ชั่วโมง

ศึกษาหลักการและขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เครื่องมือการออกแบบโปรแกรม ความเป็นมาของภาษาคอมพิวเตอร์ โครงสร้างภาษาคอมพิวเตอร์ ลักษณะเด่นและด้อยของภาษาคอมพิวเตอร์ ประเภทของข้อมูล องค์ประกอบของคำสั่ง การคำนวณและเปรียบเทียบ ขั้นตอนการทำงานของโอเปอเรชันคำนวณ คำสั่งต่าง ๆ ในภาษาคอมพิวเตอร์ ฟังก์ชันเบื้องต้น การเขียนโปรแกรมงานต่าง ๆ โดยใช้คำสั่งและฟังก์ชันในภาษาใดภาษาหนึ่งกับเครื่องคอมพิวเตอร์

ปฏิบัติการ วิเคราะห์โจทย์ปัญหา ออกแบบโปรแกรม และเขียนโปรแกรมด้วยคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา สามารถออกแบบโปรแกรมและโปรแกรมใช้งาน และสามารถประยุกต์นำไปใช้งานได้

ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม  จริยธรรม   ค่านิยม  มีลักษณะนิสัยรักการทำงาน  ใฝ่เรียนรู้

ผลการเรียนรู้
1. เพื่อให้นักเรียนทราบและอธิบายหลักการและขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
2. เพื่อให้นักเรียนทราบและรู้จักวิธีการใช้เครื่องมือการออกแบบโปรแกรม
3. นักเรียนระบุโครงสร้างและองค์ประกอบภาษาคอมพิวเตอร์  ลักษณะเด่นและลักษณะด้อย
4. นักเรียนทราบและอธิบายขั้นตอนการทำงาน  การคำนวณ  ฟังก์ชันได้
5. นักเรียนสามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาได้
6. นักเรียนสามารถออกแบบการเขียนโปรแกรม  และสามารถประยุกต์นำไปใช้งานได้

รวม  6  ผลการเรียนรู้

วิทยาการคำนวณ ม.6 ภาคเรียนที่ 1
วิชาเรียนระดับชั้น ม.6
Preview Course

วิชาเรียนระดับชั้น ม.6

วิทยาการคำนวณ ม.6 ภาคเรียนที่ 1

คำอธิบายรายวิชา

          ศึกษาการใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอและแบ่งปันข้อมูลอย่างปลอดภัยและ มีจริยธรรม การสร้างชิ้นงานและ เผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ ที่คำนึงถึงจริยธรรม ลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญา และกฎหมาย หลักการของปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีในอนาคต กรณีศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน อาชีพที่เกี่ยวข้อง กับงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ตัวชี้วัด

ว. 4.2 เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอและแบ่งปันข้อมูลอย่างปลอดภัย มีจริยธรรม และวิเคราะห์การ เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลต่อการด าเนินชีวิต อาชีพ สังคม และวัฒนธรรม

 รวมทั้งหมด 1 ตัวชี้วัด