Global searching is not enabled.
ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

21 รายวิชาทั้งหมด

วิชาเรียนระดับชั้น ม.5

ศึกษาค้นคว้าและและสร้างองค์ความรู้ (IS)

          ศึกษา  วิเคราะห์ ฝึกทักษะตั้งประเด็นปัญหา ออกแบบวางแผนรวบรวมข้อมูล ค้นคว้าแสวงหาความรู้ จากแหล่งเรียนรู้ทั้งที่เป็นปฐมภูมิและทุติยภูมิ และสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งเรียนรู้อย่างมีวิจารณญาณเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์

          วิเคราะห์ข้อมูล  โดยใช้วิธีการที่เหมาะสม สังเคราะห์สรุปองค์ความรู้มีกระบวนการกลุ่ม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยกระบสนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการปฏิบัติ

          เพื่อให้เกิดทักษะในการค้นคว้าแสวงหาความรู้ สังเคราะห์สรุปอภิปรายผลการเปรียบเทียบเชื่อมโยงความรู้  เข้าใจหลักการและวิะีคิดในสิ่งที่ศึกษาเห็นประโยชน์และคุณค่าของการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ม.5
วิชาเรียนระดับชั้น ม.5
Preview Course

วิชาเรียนระดับชั้น ม.5

การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ม.5

Dev C++

วิชาเรียนระดับชั้น ม.5

การเขียนโปรแกรม (ม.5/3-4)

การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ระดับชั้น ม.5

ประวัติศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ม.5/3 ม.5/4
วิชาเรียนระดับชั้น ม.5
Preview Course

อาจารย์: นูรีย๊ะ บ่าวเบ็ญหมัด

ประวัติศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ม.5/3 ม.5/4

คำอธิบายรายวิชา

 

รหัสวิชา ส32103          รายวิชาประวัติศาสตร์      กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ 

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5     เวลา 20 ชั่วโมง                จำนวน  0.5  หน่วยกิต

          ศึกษาวิเคราะห์อารยธรรมของโลกยุคโบราณที่มีต่อพัฒนาการแลการเปลี่ยนแปลงของโลก ได้แก่ อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรตีส  แม่น้ำไนล์  แม่น้ำฮวงโห  แม่น้ำสินธุ  และอารยธรรมกรีก-โรมัน การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตกและอิทธิพลทางวัฒนธรรมที่มีต่อกันและกัน ศึกษาวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญต่างๆ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของโลก เช่นระบอบศักดินาสวามิศักดิ์ สงครามครูเสด การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ การสำรวจทางทะเล การปฏิรูปศาสนา การปฏิวัติอุตสาหกรรม แนวคิดเสรีนิยม แนวคิดจักรวรรดินิยม แนวคิดชาตินิยม การขยายอิทธิพลของประเทศยุโรปไปยังทวีปอเมริกา แอฟริกา และเอเชีย การล่าอาณานิคมและผลกระทบ ความร่วมมือและการขัดแย้งของมนุษยชาติในคริสต์ศตวรรษที่ 20 วิเคราะห์สถานการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 21 เช่น เหตุการณ์ระเบิดตึกเวิร์ลเทรดเซ็นเตอร์ 11 กันยาย’น 2001 การก่อการร้ายและการต่อต้านการก่อการร้าย ความขัดแย้งทางศาสนา ตลอดจนถึงเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน

          โดยใช้ทักษะการสืบค้น การตรวจสอบ การวิพากษ์ การเปรียบเทียบ การให้เหตุผล การวิเคราะห์  และการสังเคราะห์

          เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติที่มีความเปลี่ยนแปลงจากอดีตจนถึงปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง  เข้าใจและยอมรับในความหลากหลายทางวัฒนธรรม รวมทั้งเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ของโลก  ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม สามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุ ปัจจัย และผลกระทบที่เกิดขึ้น ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการร่วมมือกันสร้างสันติสุข สามารถปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มาตรฐาน/ตัวชี้วัด

ส 4.1  ม.4-6/1

ส 4.2  ม.4-6/1 ม.4-6/2 ม.4-6/3 ม.4-6/4

รวม 5 ตัวชี้วัด

อาจารย์: ภณิชชา ชมอินทร์

วิทยาศาสตร์กายภาพ (ธรณีวิทยาเบื้องต้น)

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา  วิทยาศาสตร์กายภาพ (ธรณีวิทยาเบื้องต้น)                                                                              

รหัสวิชา ว32211

รายวิชาเพิ่มเติม                                                                                         

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5   ภาคเรียนที่ 1                                                                

เวลาเรียน 40 ชั่วโมง    จำนวน 1.0 หน่วยกิต

                                        

          ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของอากาศ  ชั้นบรรยากาศ  การหมุนเวียนของระบบลมของโลก  การหมุนเวียนของน้ำในมหาสมุทร  เมฆ  การเกิดเมฆ  เสถียรภาพของอากาศ  แนวปะทะอากาศ  พายุและมรสุม   โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  กระบวนการสืบเสาะหาความรู้  การสืบค้นข้อมูล  การสังเกต  การวิเคราะห์  การอธิบาย  การอภิปรายและสรุป

          เพื่อให้เกิดความรู้  ความคิด  ความเข้าใจ  มีความสามารถในการตัดสินใจ  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตของตนเองและดูแลรักษาสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เฝ้าระวังและพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน  มีจิตวิทยาศาสตร์  จริยธรรม  คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม

 

ผลการเรียนรู้

  1. สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์  อภิปราย และอธิบายเกี่ยวกับองค์ประกอบของอากาศ  การแบ่งชั้นบรรยากาศ  และอิทธิพลของชั้นบรรยากาศที่มีต่อโลก
  2. ทดลอง  สืบค้นข้อมูล  อภิปรายและอธิบายระบบลมของโลก  พร้อมระบุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
  3. ทดลอง  สืบค้น  อภิปราย  และอธิบาย  การหมุนเวียนของน้ำในมหาสมุทร  พร้อมทั้งระบุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
  4. ทดลอง  สืบค้นข้อมูล  อภิปรายและอธิบายการเกิดเมฆ  เสถียรภาพของอากาศและแนวปะทะอากาศ
  5. สืบค้น  อภิปราย  และอธิบายการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง  ทอร์นาโด พายุหมุนเขตร้อน  มรสุม  ผลกระทบ  และแนวปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากพายุต่าง ๆ

 

รวมทั้งหมด  5  ผลการเรียนรู้

อาจารย์: สายัณต์ พรหมมี

ดนตรี ม.5

 คำอธิบายรายวิชา

ศิลปะ ศ.32101

ผู้เรียนเข้าใจความหมาย  เห็นความสำคัญของดนตรีที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรม  โดยการจัดเครื่องดนตรีได้สอดคล้องตามแนวคิดและค่านิยม  สามารถเปรียบเทียบรูปแบบของบทเพลง เครื่องดนตรี  วงดนตรี  ทั้งไทยและสากลตามยุคสมัยโดยตระหนักในเรื่องดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ระบบโน้ตทั้งไทยและสากลได้อย่างถูกต้อง รู้วิธีการฝึกทักษะในการขับร้องเพลง  การเล่นดนตรี  เรียนรู้เทคนิค   วิธีการแสดงออกอย่างเหมาะสม  รวมทั้งสร้างสรรค์ถ่ายทอดผลงานการดนตรีไทยให้เป็นที่ชื่นชม  โดยแสดงออกได้  ทั้งวิเคราะห์  วิจารณ์  ความไพเราะความงดงามของดนตรีได้อย่างเหมาะสม

ผู้เรียนได้ศึกษาคุณค่าการใช้ประโยชน์จากเสียงดนตรีในการพัฒนามนุษย์ เข้าใจถึงความรู้สึกนึกคิด  และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้

อาจารย์: นางเกสร ปิยดิลก

การงานอาชีพ 3

คำอธิบายรายวิชา

ง32101   รายวิชาพื้นฐาน ( การงานอาชีพ 3 )

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 

จำนวน 0.5 หน่วยกิต

เวลา 20 ชั่วโมง/ภาคเรียน                                            

มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการทำงานอาชีพสุจริต  มีทักษะการจัดการ  ทำงานอย่างเป็นระบบ  และมี

กลยุทธ์ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้  เห็นคุณค่าของอาชีพสุจริต  เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ  เลือกใช้และประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศได้เหมาสมถูกต้องและมีคุณธรรมสามารถคิดออกแบบสร้างและพัฒนผลิตภัณฑ์        หรือวิธีการใหม่ๆ ในการทำงาน  ทำงานด้วยความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา ขยัน ซื่อสัตย์  ประหยัด อดออม  มุ่งมั่น  อดทน  เอื้อเฟื้อ  เสียสละ  ใช้พลังงาน  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่าและถูกวิธี   มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้ผู้เรียนรู้วิธีการและขั้นตอนในการทำงาน

ฝึกปฏิบัติงานเกี่ยวกับกระบวนการปลูกพืช ขยายพันธุพืช และสำรวจเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ในท้องถิ่น เพื่อการดำรงชีวิต โดยใช้ทักษะการทำงานร่วมกัน ทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแกปัญหาและทักษะการแสวงหาความรูในการฝึกปฏิบัติงาน เพื่อให้นักเรียนมีความรูความสามารถในการทำงานด้านงานเกษตรเพื่อการดำรงชีวิต โดยเลือกใช้เครื่องมือได้ถูกต้อง ทำงานเป็นขั้นตอน  มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถซ่อมแซม  เก็บ  บำรุงรักษาเครื่องมือในการทำงาน  ได้อย่างถูกต้องตามลักษณะงาน  และเก็บบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยได้        

มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คือ ขยัน อดทน ซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง รับผิดชอบ มุ่งมั่นในการทำงาน ทำงานเป็นขั้นตอน เป็นระบบ บรรลุเป้าหมาย ปลอดภัย มีความคิดสร้างสรรค์ ใช้ทรัพยากรในการทำงานอย่างคุ้มค่า และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 

ตัวชี้วัด

ง1.1 ม.1/1 ม.1/2 ม.1/3

ง4.1 ม.1/1 ม.1/2 ม.1/3

 

รวมทั้งหมด  6  ตัวชี้วัด

วิทยาศาสตร์-กายภาพ (เคมี) ม.5/3-ม.5/4 ภาคเรียนที่ 1
วิชาเรียนระดับชั้น ม.5
Preview Course

อาจารย์: กาญชนา เสพคง

วิทยาศาสตร์-กายภาพ (เคมี) ม.5/3-ม.5/4 ภาคเรียนที่ 1

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา วิทยาศาสตร์กายภาพ (เคมี)                                       รหัสวิชา ว32282

รายวิชาพื้นฐาน                                                                         กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1                                           เวลา 60 ชั่วโมง    จำนวน  1.5 หน่วยกิต

           ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบแบบจำลองอะตอมของดอลตัน ทอมสัน รัทเทอร์ฟอร์ด โบร์และกลุ่มหมอก อนุภาคมูลฐานของอะตอม สัญลักษณ์นิวเคลียร์โมเลกุล ไอออน และไอโซโทปของธาตุ วิวัฒนาการของการสร้างตารางธาตุและตารางธาตุในปัจจุบัน แนวโน้มสมบัติบางประการของธาตุในตารางธาตุตามหมู่และคาบ ศึกษาการเกิดพันธะเคมีในโมเลกุลของสาร การเกิดพันธะโคเวเลนต์ ชนิดของพันธะโคเวเลนต์ การอ่านชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์ สมบัติของสารประกอบโคเวเลนต์ การเกิดพันธะไอออนิก การเขียนสูตรและเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก และสมบัติบางประการของสารประกอบไอออนิก สมบัติของกรด เบส และเกลือ สารละลายอิเล็กโทรไลต์และนอนอิเล็ก-โทรไลต์ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ศึกษาโครงสร้าง สมบัติ ประเภทของพอลิเมอร์ ตัวอย่างพอลิเมอร์ธรรม-ชาติและพอลิเมอร์สังเคราะห์ ปฏิกิริยาการสังเคราะห์พอลิเมอร์ รวมทั้งการใช้ประโยชน์และผลกระทบจากการใช้ผลิตภัณฑ์ของพอลิเมอร์ ศึกษาและทดลองการเกิดปฏิกิริยาเคมี อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ศึกษาและทดลองปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวันและการใช้ประโยชน์ ปฏิกิริยารีดอกซ์ ศึกษาสมบัติของสารกัมมันตรังสีและคำนวณครึ่งชีวิตและปริมาณของสารกัมมันตรังสี ประโยชน์และอันตรายของสารกัมมันตรังสี

          โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูลและการอภิปราย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์

 

คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ม.5
วิชาเรียนระดับชั้น ม.5
Preview Course

อาจารย์: ปัทมา แก้วเจริญ

คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ม.5



 

คำอธิบายรายวิชา

 

รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม    รหัสวิชา ค32201       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5              ภาคเรียนที่ 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์        จำนวนหน่วยการเรียน  1.5 หน่วยกิต              60  ชั่วโมง

                                                                                                                                                                                        

          ศึกษาเกี่ยวกับ   ฟังก์ชันตรีโกณมิติ   ฟังก์ชันตรีโกณมิติผกผัน   เอกลักษณ์และสมการตรีโกณมิติ  กฎของโคไซน์และกฎของไซน์  เมทริกซ์ และเมทริกซ์สลับเปลี่ยน  การบวกเมทริกซ์  การคูณเมทริกซ์กับจำนวนจริง  การคูณระหว่างเมทริกซ์   ดีเทอร์มิแนนต์   เมทริกซ์ผกผัน  การแก้ระบบสมการเชิงเส้นโดยใช้เมทริกซ์ เวกเตอร์ในสามมิติ  เวกเตอร์  นิเสธของเวกเตอร์  การบวก การลบเวกเตอร์  การคูณเวกเตอร์ด้วยสเกลาร์  ผลคูณเชิงสเกลาร์ และผลคูณเชิงเวกเตอร์

โดยใช้กระบวนการศึกษาค้นคว้าโดยการปฏิบัติจริง  ทดลอง  สรุป  รายงาน  เพื่อพัฒนาทักษะ/กระบวนการในการคิดคำนวณ  การแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์  และนำประสบการณ์ด้านความรู้  ความคิด  ทักษะกระบวนการที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ 

          เพื่อให้เห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ สามารถทำงานได้อย่างมีระบบระเบียบ มีความรอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารญาน มีความพยายามและมีความเชื่อมั่นในตนเอง

 

ผลการเรียนรู้

1.  เข้าใจฟังก์ชันตรีโกณมิติและลักษณะกราฟของฟังก์ชันตรีโกณมิติและนำไปใช้ในการแก้ปัญหา

          2.  แก้สมการตรีโกณมิติและนำไปใช้ในการแก้ปัญหา

          3. ใช้กฎของโคไซน์และกฎของไซน์ในการแก้ปัญหา

4.  เข้าใจความหมาย  หาผลลัพธ์ของการบวกเมทริกซ์  การคูณเมทริกซ์กับจำนวนจริง

     การคูณระหว่างเมทริกซ์และหาเมทริกซ์สลับเปลี่ยนหาดีเทอร์มิแนนต์ ของเมทริกซ์  n x n

     เมื่อ n เป็นจำนวนนับที่ไม่เกินสาม

          5.  หาเมทริกซ์ผกผันของเมทริกซ์   2 x 2

          6.  แก้ระบบสมการเชิงเส้นโดยใช้ เมทริกซ์ผกผันและการดำเนินการตามแถว

          7. หาผลลัพธ์ของการบวก  การลบเวกเตอร์  การคูณเวกเตอร์ด้วยสเกลาร์  หาผลคูณเชิงสเกลาร์

              และ ผลคูณเชิงเวกเตอร์        

          8.  นำความรู้เกี่ยวกับเวกเตอร์ในสามมิติไปใช้ในการแก้ปัญหา

 

 

 


อาจารย์: ทิพาภรณ์ ประจวบไพบูลย์

ประวัติศาสตร์ ม.5

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชาประวัติศาสตร์สากล  รหัสวิชา ส32103                                                      

เวลา 20 ชั่วโมง  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5                                                              

ภาคเรียนที่ 1  จำนวน  0.5 หน่วยกิต

          ศึกษา วิเคราะห์ อิทธิพลของอารยธรรมโบราณ การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตกที่มีผลต่อพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของโลก วิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง เข้าสู่โลกสมัยปัจจุบัน การขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปไปยังทวีปอเมริกา แอฟริกา เอเชีย ตลอดจนสถานการณ์ปัจจุบันของโลกในคริสต์ศตวรรคที่ ๒๑ ที่มีผลกระทบต่อมนุษยชาติ

          โดยใช้กระบวนการทางประวัติศาสตร์ ในการสืบค้นข้อมูล การอภิปราย วิเคราะห์ และสรุป เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความคิด สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ได้อย่างเป็นระบบ มีความสามารถในการตัดสินใจ ความร่วมมือ และแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง เพื่อนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิต และอยู่ร่วมกันได้อย่างสมานฉันท์

มาตรฐาน/ตัวชี้วัด

ส4.2 ม.4-6/1 ม.4-6/2 ม.4-6/3 ม.๔4-6/4

รวม 4 ตัวชี้วัด

อาจารย์: สมภพ พรั่งพร้อมสกุล

คณิตศาสตร์ ม.5

คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชา ค32101   ชื่อวิชา คณิตศาสตร์

รายวิชาพื้นฐาน

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

เวลา  40ชั่วโมง  จำนวน 1.0 หน่วยกิต

 

          ศึกษา  ฝึกทักษะ/กระบวนการในสาระต่อไปนี้ เลขยกกำลัง รากที่ n ของจำนวนจริง เมื่อ n เป็นจำนวนนับที่มากกว่า 1 เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ ฟังก์ชัน  ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชัน (ฟังก์ชันเชิงเส้น  ฟังก์ชันกำลังสอง  ฟังก์ชันขั้นบันได ฟังก์ชันเอกซ์เนนเชียล)

          โดยจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า และสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation)ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ทดลอง สรุปรายงาน สื่อสารและนำเสนอ (Communication and Presentation) อย่างเป็นลำดับขั้นตอน  เพื่อพัฒนาทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์  นำประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิด ทักษะ/กระบวนการที่ได้ ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รวมทั้งเห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์  สามารถทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ  มีความรอบคอบ  มีความรับผิดชอบ  มีวิจารณญาณ  และมีความเชื่อมั่นในตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

การวัดและประเมินผล ใช้วิธีการที่หลากหลายตามสภาพจริงให้สอดคล้องกับเนื้อหาทักษะ ที่ต้องการวัดและคุณลักษณะอันพึงประสงค์

 

รหัสมาตรฐาน / ตัวชี้วัด

          ค 1.1 ม.5/1

          ค 1.2 ม.5/1

 

 

 

 

 

 

รวมทั้งหมด  2  ตัวชี้วัด

ภาษาอังกฤษ
วิชาเรียนระดับชั้น ม.5
Preview Course

อาจารย์: กนกทิพย์ สามห้วย

ภาษาอังกฤษ

ปฏิบัติตามคำแนะนำ คำบรรยาย และให้คำแนะนำ  คำอธิบาย และใช้คำขอร้องอย่างคล่องแคล่ว  อ่านออกเสียงข้อความ ข่าว และโฆษณาถูกต้องตามหลักการอ่าน อธิบายประโยคและข้อความให้สัมพันธ์กับสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบต่างๆ  จับใจความสำคัญ สรุปความ ตีความ และแสดงความคิดเห็นจากการฟังและอ่านเรื่องที่เป็นสารคดีและบันเทิงคดี พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ  สนทนาและเขียนโต้ตอบข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อม อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องแต่งกาย เวลาว่างและนันทนาการ สุขภาพ การซื้อ-ขาย ลมฟ้าอากาศ อุบัติเหตุ ภัยพิบัติ อาชญากรรม การเดินทางท่องเที่ยว กีฬา สถานที่ ประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสังคม  พูดและเขียนขอร้อง แสดงความต้องการ เสนอ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือ  บรรยายความรู้สึกและความคิดเห็น  ขอและให้ข้อมูล  อธิบาย เปรียบเทียบเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน  นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ประสบการณ์ ข่าว/เหตุการณ์ ประเด็นต่างๆ ที่อยู่ในความสนใจของสังคมทั้งในท้องถิ่น สังคม และโลก  รวมทั้งสรุปใจความสำคัญและแสดงความคิดเห็น โดยใช้ภาษา น้ำเสียง และกิริยาท่าทางเหมาะกับระดับของบุคคล โอกาส และสถานที่ตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ทั้งในสถานการณ์จริง/สถานการณ์จำลอง  เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษา  อธิบาย/อภิปราย และวิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างวิถีชีวิต ความเชื่อ และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับของไทย รวมถึงโครงสร้างประโยค  ใช้ภาษาต่างประเทศในการค้นคว้า รวบรวม สรุปความรู้/ข้อมูลต่างๆ ในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ  และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นจากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ  ตลอดจนเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารของโรงเรียน ชุมชนและท้องถิ่น/ประเทศชาติเป็นภาษาต่างประเทศ โดยใช้แนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร  กระบวนการสอนทักษะทางภาษา และจัดกระบวนการกลุ่ม การอภิปราย สถานการณ์จริง สถานการณ์จำลอง การแสดงความคิดเห็น การวิเคราะห์เรื่อง/ข่าว/เหตุการณ์ที่อยู่ในความสนใจของสังคม  เพื่อให้ผู้เรียนใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารระหว่างบุคคล  และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนและสังคมโลกได้อย่างเหมาะสม  รวมทั้งเข้าใจความเหมือนและความแตกต่างของวัฒนธรรม  มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ

อาจารย์: นางสาวนพมาศ สุวรรณสิงห์

ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร 3

คำอธิบายรายวิชา

32201   ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร 3     ม. 5   ภาคเรียนที่  1      20  ชั่วโมง      0.5   หน่วยกิต

          ปฏิบัติตามคำสั่ง คำแนะนำ  และคำอธิบาย  ที่ฟังและอ่าน บอกความเหมือนและความแตกต่างของตัวอักษร คำ กลุ่มคำ ของภาษาจีนและภาษาไทย ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์จริงหรือสถานการณ์จำลองที่เกิดขึ้นในห้องเรียน สถานศึกษาและชุมชน พูดหรือเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว สนทนาอย่างต่อเนื่องหรือเขียนโต้ตอบข้อมูลข่าวสาร เรื่องต่าง ๆ ใกล้ตัวประสบการณ์ และเรื่องที่อยู่ในความสนใจของสังคม เปรียบเทียบและอธิบายความแตกต่างระหว่างโครงสร้างประโยค ของภาษาจีนและภาษาไทย ใช้คำขอร้อง คำแนะนำ คำชี้แจง และคำอธิบายในสถานการณ์ต่าง ๆ ใช้ภาษาจีนสื่อสารในสถานการณ์จริงหรือสถานการณ์จำลองที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน และชุมชน เข้าร่วม แนะนำ และจัดกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความสนใจ

ผลการเรียนรู้

1.ปฏิบัติตามคำสั่ง คำแนะนำ  และคำอธิบาย  ที่ฟังและอ่าน

2.บอกความเหมือนและความแตกต่างของตัวอักษร คำ กลุ่มคำ ของภาษาจีนและภาษาไทย

3.ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์จริงหรือสถานการณ์จำลองที่เกิดขึ้นในห้องเรียน สถานศึกษาและชุมชน

4.พูดหรือเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว

5.สนทนาอย่างต่อเนื่องหรือเขียนโต้ตอบข้อมูลข่าวสาร เรื่องต่าง ๆ ใกล้ตัวประสบการณ์และเรื่องที่อยู่ใน

ความสนใจของสังคม

6.เปรียบเทียบและอธิบายความแตกต่างระหว่างโครงสร้างประโยค ของภาษาจีนและภาษาไทย

7.ใช้คำขอร้อง คำแนะนำ คำชี้แจง และคำอธิบายในสถานการณ์ต่าง ๆ

8.ใช้ภาษาจีนสื่อสารในสถานการณ์จริงหรือสถานการณ์จำลองที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน และชุมชน

9.เข้าร่วม แนะนำ และจัดกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความสนใจ

       รวม 9 ผลการเรียนรู้ 

 


อาจารย์: นางสาวดรุโณทัย แสงอรุณ

ภาษาไทย3 ภาคเรียนที่1 ม.5

คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชา  ท๓๒๑๐๑                     รายวิชาภาษาไทย

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                           เวลา   ๔๐  ชั่วโมง

จำนวน   ๑.๐  หน่วยกิต                ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๕      ภาคเรียนที่  ๑

 

                        ศึกษาการอ่าน  เขียน  ฟัง  ดู  พูด  โดยอ่านหนังสือ และสื่อประเภทต่างๆ  เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์พัฒนาสมรรถภาพการเรียนรู้ มีวิจารณญาณในการเลือกหนังสือ และสื่อสารสนเทศ  ท่องจำบทประพันธ์ที่มีคุณค่าประทับใจ  ศึกษา ภาษาถิ่น  ภูมิปัญญาท้องถิ่น วรรณกรรมพื้นบ้านตลอดจนศิลปะการแสดงพื้นบ้าน เขียนจดหมายราชการ  โฆษณา  ประชาสัมพันธ์  สารคดี  และโครงการ ถูกต้องตามกระบวนการเขียน ใช้ภาษาเชิงสร้างสรรค์สื่อความหมายได้ถูกต้องชัดเจน  และกะทัดรัด  ตามหลักการใช้ภาษาฟังและดูสื่อรูปแบบต่างๆที่เป็นความรู้และความบันเทิงอย่างมีวิจารณญาณ  พูดโน้มน้าวใจ  พูดแสดงความบันเทิง  และพูดในโอกาสต่างๆเพื่อสามารถใช้ภาษาสร้างสรรค์งานวิชาการ  วิเคราะห์  วิจารณ์  ได้อย่างมีเหตุผลมีประสิทธิภาพ  สุภาพ  เหมาะสมสถานการณ์  สามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร  พัฒนาความรู้  อาชีพ  และการดำเนินชีวิต  ในสังคม  มีคุณธรรมจริยธรรม  เห็นคุณค่าและความงามของภาษา

อาจารย์: ฉันทนา ทองหอม

การใช้โปรแกรม GSP 1

คำอธิบายรายวิชา

 

      รายวิชา  การใช้โปรแกรม GSP 1        รหัสวิชา  ค 32203                           ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

               จำนวนหน่วยกิต   1.0  หน่วยกิต                ภาคเรียนที่ 1              จำนวน  40    ชั่วโมง

 

                ศึกษาความรู้พื้นฐานเบื้องต้น  ฝึกทักษะกระบวนการและการแก้ปัญหาในการใช้โปรแกรม GSP ในสาระต่อไปนี้

                การสร้างรูปเรขาคณิตอย่างง่าย การสร้างส่วนของเส้นตรงให้มีความยาวตามที่กำหนด การสร้างรูปวงกลม การสร้างส่วนโค้ง การสร้างมุมที่มีขนาด 45 , 60 และ 90 องศา  การสร้างรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า  รูปสามเหลี่ยมด้านไม่เท่า รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว รูปสี่เหลี่ยมใด ๆ  รูปห้าเหลี่ยม และรูปหกเหลี่ยม พร้อมทั้งตรวจสอบสมบัติและหาพื้นที่ของรูปเรขาคณิต

                การเคลื่อนไหวจุดและเส้น การแปลงทางเรขาคณิต การสร้างรูปที่ได้จากการแปลงทางเรขาคณิต การสร้างรูปเทสเซลเลชัน การแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้ความรู้เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต การสร้างรูปย่อ – ขยาย  การสร้างแฟรกตอลแบบต่างๆ

                กราฟ การเขียนกราฟเชิงเส้นตรง การหาจุดตัดแกน X  และ จุดตัดแกน Y ของกราฟ การหาจุดตัดของกราฟ การแก้โจทย์ปัญหาสมการเส้นตรง การเขียนกราฟของสมการกำลังสองตัวแปรเดียว การหาค่าสูงสุด/ต่ำสุดของกราฟ การหาเส้นสัมผัสของกราฟตามจุดที่ต้องการ และการโจทย์แก้ปัญหาสมการกำลังสองตัวแปรเดียว

                โดยจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าโดยปฏิบัติจริง    เพื่อพัฒนาทักษะ/กระบวนการในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์  และนำประสบการณ์ด้านความรู้  ความคิด  ทักษะกระบวนการที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ  และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ 

                รวมทั้งเห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์  สามารถทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ รอบคอบ  มีความรับผิดชอบ  มีวิจารณญาณและเชื่อมั่นในตนเอง

                 การวัดและประเมินผล ใช้วิธีการหลากหลายตามสภาพความเป็นจริงของเนื้อหา  และทักษะที่ต้องการวัด

 

อาจารย์: นางสาวจุฑารัตน์ สุทธิมาส

ชีววิทยา ม.5 ภาคเรียนที่ 1

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา ชีววิทยาเพิ่มเติม 3                          กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
จำนวน 1.5 หน่วยกิต เวลาเรียน 60 ชั่วโมง

ศึกษาโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก เนื้อเยื่อพืช โครงสร้างและหน้าที่ของราก โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น โครงสร้างและหน้าที่ของใบ การแลกเปลี่ยนแก๊สและการคายน้ำของพืช การลำเลียงน้ำของพืชธาตุอาหารของพืช การลำเลียงอาหารของพืช ศึกษาการสังเคราะห์ด้วยแสง การค้นคว้าที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง การค้นคว้าที่เกี่ยวข้อง กับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง โครงสร้างของใบพืช C3 และใบพืช C4  วัฏจักรคาร์บอนของพืช C4 ศึกษาการสืบพันธุ์ของพืชดอกและ การเจริญเติบโตวัฏจักรชีวิตของพืชดอก การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของพืชดอก การปฏิสนธิของพืชดอก การงอกของเมล็ดพืช ศึกษาการตอบสนองของพืช การตอบสนองของพืชต่อสารเคมี และการตอบสนองของพืชต่อสิ่งแวดล้อม  โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล การสังเกต การวิเคราะห์ การอภิปราย และการสรุปผล เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิดและความเข้าใจ มีความสามารถในการตัดสินใจ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนมีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

 

ฟิสิกส์ ม.5 ภาคเรียนที่ 1
วิชาเรียนระดับชั้น ม.5
Preview Course

อาจารย์: ฮ่าหลีม๊ะ บิลรัตน์แก้ว

ฟิสิกส์ ม.5 ภาคเรียนที่ 1

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา ฟิสิกส์  รหัสวิชา ว32202

รายวิชาเพิ่มเติม                                                          กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์     

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5     ภาคเรียนที่  1             เวลาเรียน   60  ชั่วโมง    จำนวน   1.5  หน่วยกิต 

         

        ศึกษา วิเคราะห์ และอธิบายการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายของระบบมวล-สปริงเบา เงาของวัตถุที่เคลื่อนที่เป็นวงกลมสม่ำเสมอ การแกว่งของลูกตุ้มนาฬิกาอย่างง่าย การสั่นพ้อง การถ่ายโอนพลังงานของคลื่นกล ชนิดของคลื่น รูปร่างและส่วนประกอบของคลื่น คลื่นผิวน้า คลื่นในเส้นเชือก การซ้อนทับของคลื่น หลักของฮอยเกนส์ การสะท้อนของคลื่น การหักเหของคลื่น การเลี้ยวเบนของคลื่น การแทรกสอดของคลื่น การเคลื่อนที่ของเสียงผ่านอากาศ อัตราเร็วของคลื่นเสียง การสะท้อนของเสียง การหักเหของเสียง การเลี้ยวเบนของเสียง การแทรกสอดของเสียง ความเข้มเสียง ระดับเสียง หูกับการได้ยิน มลภาวะทางเสียง เสียงดนตรี ระดับสูงต่ำของเสียง คุณภาพเสียง การสั่นพ้องของเสียง บีต คลื่นนิ่งของเสียงในท่อ ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ คลื่นกระแทก การนำความรู้ของเสียงไปใช้ประโยชน์ การเคลื่อนที่และอัตราเร็วของแสง การสะท้อนของแสงที่ผิววัตถุตามกฎการสะท้อน การเขียนรังสีของแสง การคำนวณตำแหน่งและขนาดภาพของวัตถุเมื่อแสงตกกระทบกระจกเงาราบและกระจกเงาทรงกลม การสะท้อนของแสงจากกระจกเงาราบและกระจกเงาทรงกลม การหักเหของแสง กฎการหักเหของแสง ภาพที่เกิดจากการหักเหที่ผิวเรียบ ความลึกจริง ความลึกปรากฏ มุมวิกฤตและการสะท้อนกลับหมด การเขียนรังสีของแสงเพื่อแสดงภาพที่เกิดจากเลนส์บาง การหาตำแหน่ง ขนาด ชนิดของภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างระยะวัตถุ ระยะภาพ และความยาวโฟกัส ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับแสง เช่น การกระจายแสง รุ้ง การทรงกลด      มิราจ เป็นต้น ทัศนอุปกรณ์ เช่น เครื่องฉายภาพ กล้องถ่ายรูป กล้องจุลทรรศน์ กล้องโทรทรรศน์ เป็นต้น ความสว่าง ตา และการมองเห็นสี การผสมสารสี การผสมแสง สาเหตุของการบอดสี

       โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล การสังเกต
การวิเคราะห์ การอภิปราย การอธิบาย และการสรุปผล เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิด และความเข้าใจ
มีความสามารถในการตัดสินใจ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตตนเอง ตลอดจนมีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่ถูกต้อง

 

ผลการเรียนรู้

  1. ทดลอง และอธิบายการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายของวัตถุติดปลายสปริงและลูกตุ้มอย่างง่าย
    รวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
  2. อธิบายความถี่ธรรมชาติของวัตถุและการเกิดการสั่นพ้องได้
  3. อธิบายปรากฏการณ์คลื่น ชนิดของคลื่น ส่วนประกอบของคลื่น การแผ่ของหน้าคลื่นด้วยหลักการของฮอยเกนส์ และการรวมกันของคลื่นตามหลักการซ้อนทับ พร้อมทั้งคำนวณ อัตราเร็ว ความถี่ และ
    ความยาวคลื่นได้
  4. สังเกต และอธิบายการสะท้อน การหักเห การแทรกสอด และการเลี้ยวเบนของคลื่นผิวน้ำ รวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
  5. อธิบายการเกิดเสียง การเคลื่อนที่ของเสียง ความสัมพันธ์ระหว่างคลื่น การกระจัดของ อนุภาคกับคลื่นความดัน ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเร็วของเสียงในอากาศที่ขึ้นกับอุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียส สมบัติของคลื่นเสียง ได้แก่ การสะท้อน การหักเห การแทรกสอด และการเลี้ยวเบน รวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
  6. อธิบายความเข้มเสียง ระดับเสียง องค์ประกอบของการได้ยิน คุณภาพเสียง และมลพิษทางเสียง รวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
  7. ทดลอง และอธิบายการเกิดการสั่นพ้องของอากาศในท่อปลายเปิดหนึ่งด้าน รวมทั้งสังเกต และอธิบายการเกิดบีต คลื่นนิ่ง ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ คลื่นกระแทกของเสียง คำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำความรู้เรื่องเสียงไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
  8. ทดลอง และอธิบายการสะท้อนของแสงที่ผิววัตถุตามกฎการสะท้อน เขียนรังสีของแสงและคำนวณตำแหน่งและขนาดภาพของวัตถุ เมื่อแสงตกกระทบกระจกเงาราบและกระจกเงาทรงกลม รวมทั้งอธิบายการนำความรู้เรื่องการสะท้อนของแสงจากกระจกเงาราบและกระจกเงาทรงกลมไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
  9. ทดลอง และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างดรรชนีหักเห มุมตกกระทบ และมุมหักเห รวมทั้งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความลึกจริง และความลึกปรากฏ มุมวิกฤตและการสะท้อนกลับหมดของแสง และคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
  10. ทดลอง และเขียนรังสีของแสงเพื่อแสดงภาพที่เกิดจากเลนส์บาง หาตำแหน่ง ขนาด ชนิดของภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างระยะวัตถุ ระยะภาพ และความยาวโฟกัส รวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และอธิบายการนำความรู้เรื่องการหักเหของแสงผ่านเลนส์บางไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
  11. อธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกี่ยวกับแสง เช่น รุ้ง การทรงกลด มิราจ การเห็นท้องฟ้าเป็นสีต่าง ๆ ในช่วงเวลาต่างกันได้
  12. สังเกต และอธิบายการมองเห็นแสงสี สีของวัตถุ การผสมสารสี และการผสมแสงสี รวมทั้งอธิบายสาเหตุของการบอดสีได้

รวม 12 ผลการเรียนรู้

 

อาจารย์: ลิวัศยา โอทอง

เคมีเพิ่มเติม 3 ภาคเรียนที่ 1 ม.5

คำอธิบายรายวิชา   

ว 32215 เคมี 3  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 เวลา 60 ชั่วโมง จำนวน 1.5 หน่วยกิต

***************************************************************************
ศึกษาความสัมพันธ์และคำนวณปริมาตร ความดัน อุณหภูมิ จำนวนโมล หรือมวลของแก๊ส โดยใช้กฎของบอยส์ กฎของชาร์ล กฎของเกย์-ลูสแซก กฎรวมแก๊ส กฎของอาโวกาโดร และกฎแก๊สอุดมคติ คำนวณความดันย่อยหรือจำนวนโมลของแก๊สผสมโดยใช้กฎคามดันย่อยของดอลตัน ศึกษาทฤษฎีจลน์ของแก๊ส การแพร่และคำนวณอัตราการแพร่ของแก๊ส โดยใช้กฎการแพร่ของเกรแฮม ศึกษาปรากฏการณ์หรือการณ์แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและในอุตสาหกรรมโดยใช้สมบัติและกฎต่างๆของแก๊ส
ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสารในปฎิกิริยาเคมี คำนวณอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ศึกษาทิศทางการชนกันของอนุภาคและพลังงานที่ส่งผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ผลของความเข้มข้น พิ้นที่ผิวของสารตั้งต้น อุณหภูมิ และตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรืออุตสาหกรรม
ศึกษาความหมายของปฏิกิริยาผันกลับได้และสภาวะสมดุล คำนวณค่าคงที่สมดุลและความเข้มข้นของสารที่สมดุลของปฏิกิริยาที่มีขั้นตอนเดียวและหลายขั้นตอน ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสมดุลและค่าคงที่สมดุลตามหลักของเลอชาเตอริเอ สมดุลเคมีของกระบวนการที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์ในธรรมชาติและกระบวนการในอุสาหกรรม
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจ ตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล บันทึก จัดกลุ่มข้อมูล และการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถนำเสนอสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ คุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

ผลการเรียนรู้
1. อธิบายความสัมพันธ์และคำนวณปริมาตร ความดัน หรืออุณหภูมิของแก๊สที่ภาวะต่างๆตามกฎของบอยส์ กฎของชาร์ล กฎของเกย์-ลูสแซก
2. คำนวณปริมาตร ความดัน หรืออุณหภูมิของแก๊สที่ภาวะต่างๆตามกฎรวมแก๊ส
3. คำนวณปริมาตร ความดัน อุณหภูมิ จำนวนโมล หรือมวลของแก๊ส จากความสัมพันธ์ตามกฎของอาโวกาโดร และกฎแก๊สอุดมคติ
4. คำนวณความดันย่อยหรือจำนวนโมลของแก๊สในแก๊สผสม โดยใช้กฎความดันย่อยของดอลตัน
5. อธิบายการแพร่ของแก๊สโดยใช้ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส คำนวณและเปรียบเทียบอัตราการแพร่ของแก๊ส โดยใช้กฎการแพร่ผ่านของเกรแฮม
6. สืบค้นข้อมูล นำเสนอตัวอย่าง และอธิบายการประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับสมบัติและกฎต่างๆของแก๊สในการอธิบายปรากฏการณ์ หรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและในอุตสาหกรรม
7. ทดลองและเขียนกราฟการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของสารที่วัดในปฏิกิริยา
8. คำนวณอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี และเขียนกราฟการลดลงหรือเพิ่มขึ้นของสารที่ไม่ได้วัดในปฏิกิริยา
9. เขียนแผนภาพและอธิบายทิศทางการชนกันของอนุภาคและพลังงานที่ส่งผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
10. ทดลองและอธิบายผลของความเข้มข้น พื้นที่ผิวของสารตั้งต้น อุณหภูมิ และตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
11. เปรียบเทียบอัตราการเกิดปฏิกิริยาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้น พื้นที่ผิวของสารตั้งต้น อุณหภูมิ และตัวเร่งปฏิกิริยา
12. ยกตัวอย่างและอธิบายปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวันหรืออุตสาหกรรม
13. ทดสอบและอธิบายความหมายของปฏิกิริยาผันกลับได้และภาวะสมดุล
14. อธิบายการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสาร อัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า และอัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ เมื่อเริ่มปฏิกิริยาจนกระทั่งระบบอยู่ในภาวะสมดุล
15. คำนวณค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยา
16. คำนวณความเข้มข้นของสารที่สภาวะสมดุล
17. คำนวณค่าคงที่สมดุลหรือความเข้มข้นของปฏิกิริยาหลายขั้นตอน
18. ระบุปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุลและค่าคลที่สมดุลของระบบ รวมทั้งคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อภาวะสมดุลของระบบถูกรบกวนโดยใช้หลักของเลอชาเตอริเอ
19. ยกตัวอย่างและอธิบายสมดุลเคมีของกระบวนการที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์ในธรรมชาติและกระบวนการในอุตสาหกรรม

พระพุทธศาสนา ม.5 ภาคเรียนที่ 1
วิชาเรียนระดับชั้น ม.5
Preview Course

อาจารย์: natapon nurad

พระพุทธศาสนา ม.5 ภาคเรียนที่ 1

คำอธิบายรายวิชา
รายวิชา พระพุทธศาสนา รหัสวิชา ส32201                                               ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม                        เวลา   20  ชั่วโมง  0.5 หน่วยกิต

 

 

ศึกษาและวิเคราะการฝึกฝนและพัฒนาตนเอง การพึ่งตนเอง และการมุ่งอิสรภาพในพระพุทธศาสนา หรือแนวคิดของศาสนาที่ตนนับถือ  วิเคราะห์คุณค่าด้านเป็นศาสตร์แห่งการศึกษา ฝึกคนไม่ให้ประมาท มุ่งประโยชน์สุขและสันติแก่บุคคล สังคมและโลก ศึกษาและวิเคราะห์พระพุทธศาสนากับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาประเทศแบบยังยืน วิเคราะห์พระพุทธศาสนาเกี่ยวกับการศึกษาที่สมบูรณ์ การเมืองและสันติภาพ ศึกษาและวิเคราะห์หลักธรรมในกรอบอริยสัจ 4 หรือหลักธรรมคำสอนของศาสนาที่ตนนับถือ  ข้อคิดและแบบอย่างการดำเนินชีวิตจากประวัติสาวก ชาดก เรื่องเล่าและศาสนิกชนตัวอย่าง  วิธีการศึกษาและค้นคว้า  พระไตรปิฏก และคัมภีร์ของศาสนาอื่น ๆ 

          โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการทางสังคม กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม
          เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต นำไปแก้ปัญหาของตนเองและครอบครัว มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

 

รหัสตัวชี้วัด

ส 1.1 ม.4-6/8,ม.4-6/9,ม.4-6/10,ม.4-6/11,ม.4-6/12,ม.4-6/13,ม.4-6/14,ม.4-6/15

ส 1.2 ม.5/1 ม.5/2 ม.5/3 ม.5/4 ม.5/5

 

สังคมศึกษา ม.5 ภาคเรียนที่ 1
วิชาเรียนระดับชั้น ม.5
Preview Course

อาจารย์: natapon nurad

สังคมศึกษา ม.5 ภาคเรียนที่ 1

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา   สังคมศึกษา  รหัสวิชา ส 32101                                                ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม                      เวลา   40  ชั่วโมง  1.0 หน่วยกิต 

 

       ศึกษาและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของพื้นที่ใน ประเทศไทยและภูมิภาคต่างๆ ของโลก ซึ่งได้รับ อิทธิพลจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ  อิทธิพลของสภาพภูมิศาสตร์ซึ่งทำให้เกิดปัญหาทางกายภาพหรือภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทยและภูมิภาคต่าง ๆของโลก  การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ซึ่งได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ในประเทศไทยและทวีปต่าง ๆ  การเปลี่ยนแปลงธรรมชาติในโลกว่าเป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์หรือตามธรรมชาติ  วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและโลก โดยใช้ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ในการค้นหา วิเคราะห์ และสรุปข้อมูล ตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์และนำ ภูมิสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ใน ชีวิตประจำวัน มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาบทบาทขององค์การและการประสานความร่วมมือทั้งในประเทศและนอกประเทศเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคต่าง ๆของโลก  การใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นทั้งในประเทศไทยและโลก  การแก้ปัญหาและการดำเนินชีวิตตามแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

          โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ อธิบาย   ระบุ  อภิปรายเกี่ยวกับ ข้อมูลภูมิสารสนเทศ  ภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทยและภูมิภาคต่าง ๆของโลก    การเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ  วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและโลก

           มีจิตสำนึก รู้คุณค่า อนุรักษ์  ประพฤติปฏิบัติตนได้ถูกต้อง มีค่านิยมและพฤติกรรมที่ดี รวมถึงการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 

 

รหัสตัวชี้วัด

          5.1 4-6/1,5.1 4-6/2,5.1 4-6/3,5.2 4-6/1,5.2 4-6/2,5.2 4-6/3,5.2 4-6/4