Global searching is not enabled.
ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

18 รายวิชาทั้งหมด

ดิจิทัลเบื้องต้น (ห้องวิศวะ)
วิชาเรียนระดับชั้น ม.4
Preview Course

วิชาเรียนระดับชั้น ม.4

ดิจิทัลเบื้องต้น (ห้องวิศวะ)

    ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับระบบเลขฐานและรหัส ฟังก์ชันลอจิก ตารางความจริง สัญลักษฌ์ลอจิกเกต พีชคณิตบูลลีน แผนผังคาร์โนห์ คุณลักษณะของลอจิกเกตจากคูมือของผู้ผลิตและวงจรลอจิกต่าง ๆ งานแปลงระบบ ตัวเลขฐานสอง ฐานแปด ฐานสิบ ฐานสิบหก งานอ่านคู่มือไอซีดิจิตอล งานคำนวณระบบเลขฐานและรหัสไบนารี งานประกอบ ทดลองวงจรลอจิกเกต วงจรฟลิปฟลอป วงจรเลื่อนข้อมูลและวงจรนับ

อาจารย์: นายนิมิตร กิ่งเกาะยาว

สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

คำอธิบายรายวิชา วิเคราะห์ลักษณะของสังคมชมพูทวีป คติความเชื่อทางศาสนาสมัยก่อนพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าในฐานะเป็นมนุษย์ ผู้ฝึกตนได้อย่างสูงสุด (การตรัสรู้) การก่อตั้งพระพุทธศาสนา วิธีการสอนและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธจริยา พุทธประวัติด้านการบริหาร และการธำรงรักษาพระพุทธศาสนา ทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากลและข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง เน้นการพัฒนาศรัทธา และปัญญาที่ถูกต้อง ลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา หลักการของพระพุทธศาสนากับหลักวิทยาศาสตร์ การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนาและการคิดแบบวิทยาศาสตร์ การฝึกหัดอบรมตนการพึ่งตนเอง และการมุ่งอิสรภาพ ศาสตร์แห่งการศึกษาซึ่งเน้นความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยกับวิธีการแก้ปัญหา การฝึกตนไม่ให้ประมาท มุ่งประโยชน์และสันติภาพบุคคล สังคมและโลก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน ความสำคัญของพระพุทธ ศาสนาเกี่ยวกับการศึกษาที่สมบูรณ์ การเมืองและสันติภาพ

โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ ฝึกปฏิบัติ สืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ และอภิปรายสรุป เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ ความเข้าใจ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ต่อครอบครัว และคนรอบข้าง ดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ยึดถือหลักธรรม มีคุณธรรม จริยธรรม อันก่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคม

 

วิชาศิลปะ ม.4
วิชาเรียนระดับชั้น ม.4
Preview Course

อาจารย์: ว่าที่ร.ต.หญิงเสาวลักษณ์ นาคะสุวรรณ์

วิชาศิลปะ ม.4

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชาศิลปะการแสดง            รหัสวิชา ศ31101        กลุ่มสาระการเรียนรู้   ศิลปะ                            เวลา  40  ชั่วโมงจำนวน   1.0  หน่วยกิต      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4         ภาคเรียนที่ 1 

มีทักษะในการแสดงหลากหลายรูปแบบ ใช้ความคิดริเริ่มในการแสดงนาฏศิลป์เป็นคู่และเป็นหมู่ วิจารณ์การแสดงตามหลักนาฏศิลป์และการละคร วิเคราะห์แก่นของการแสดงนาฏศิลป์และการละครที่ต้องการสื่อความหมายในการแสดง บรรยาย วิเคราะห์ และวิจารณ์การแสดงนาฏศิลป์และละคร

พัฒนาและใช้เกณฑ์การประเมินในการแสดง วิเคราะห์ท่าทางและการเคลื่อนไหวของผู้คนในชีวิตประจำวันเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานการแสดง อภิปรายบทบาทของบุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์และการละครของประเทศไทยในยุคสมัยต่างๆ เข้าใจวิวัฒนาการของนาฏศิลป์และการละครไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

เห็นคุณค่าและภาคภูมิใจในการแสดงนาฏศิลป์ไทยในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมมีแนวทางปฎิบัติที่เหมาะสมในการนำเสนอแนวคิดในการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมทางด้านนาฏศิลป์ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญาไทยให้คงอยู่สืบ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

  1. นักเรียนมีความเข้าใจในการแสดงนาฏศิลป์เป็นคู่เป็นหมู่ สามารถวิจารณ์การแสดงตามหลักนาฏศิลป์และการละครได้
  2. นักเรียนสามารถวิเคราะห์การแสดงนาฏศิลป์และการละครที่ต้องการสื่อความหมายในการแสดงได้
  3. นักเรียนสามารถประดิษฐ์ท่ารำสร้างสรรค์ในการแสดงประกอบเพลงได้
  4. นักเรียนเห็นคุณค่าและภาคภูมิใจในการแสดงนาฏศิลป์ไทยและสามารถอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามให้ยังคงอยู่สืบไป

พระพุทธศาสนา ม.4 ภาคเรียนที่ 1
วิชาเรียนระดับชั้น ม.4
Preview Course

อ.นูรีย๊ะ บ่าวเบ็ญหมัด: นูรีย๊ะ บ่าวเบ็ญหมัด

พระพุทธศาสนา ม.4 ภาคเรียนที่ 1

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา  พระพุทธศาสนา      รหัสวิชา ส31201    กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม     

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4            เวลา   20  ชั่วโมง     จำนวน 0.5 หน่วยกิต

                ศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะสังคมชมพูทวีป คติความเชื่อทางศาสนา  พระพุทธเจ้าในฐานะเป็นมนุษย์      ผู้ฝึกตนได้อย่างสูงสุด   การก่อตั้งพระพุทธศาสนา วิธีการสอน  และการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธ จริยา  ศึกษาพุทธประวัติด้านการบริหารและการธำรงรักษาพระพุทธศาสนา  พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและ วิธีการที่เป็นสากล สอดคล้องกับหลักการของวิทยาศาสตร์ และมีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง  พระพุทธศาสนา เน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง พระพุทธศาสนากับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนา แบบยั่งยืน   โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการทางสังคม กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม  เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต นำไปแก้ปัญหาของตนเองและ ครอบครัว มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่าง พอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

รหัสตัวชี้วัด

1.1 ม.4-6/1,ม.4-6/2,ม.4-6/3,ม.4-6/4,ม.4-6/5,ม.4-6/6,ม.4-6/7

1.2 ม.5/1 ม.5/2 ม.5/3 ม.5/4 ม.5/5

ประวัติศาสตร์ ม.4 ภาคเรียนที่ 1
วิชาเรียนระดับชั้น ม.4
Preview Course

อาจารย์: Angkana Pitchayadol

ประวัติศาสตร์ ม.4 ภาคเรียนที่ 1

คำอธิบายรายวิชา

ส31103  ประวัติศาสตร์ไทย                         

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1                  

เวลา  20 ชั่วโมง    

จำนวน  0.5 หน่วยกิต

 

ศึกษาวิเคราะห์ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของมนุษยชาติ  สร้างองค์ความรู้ใหม่ ทางประวัติศาสตร์โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบ เห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์ ศึกษาและวิเคราะห์ประเด็นสำคัญของประวัติศาสตร์ไทย บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีต่อชาติไทย  ในด้านต่างๆ ตลอดจนอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยภูมิปัญญา ใช้กระบวนการทางประวัติศาสตร์  ในการสืบหาความรู้ ค้นข้อมูล อภิปราย วิเคราะห์ และสรุป เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถสื่อสาร มีเหตุมีผลเกิดความตระหนัก รัก หวงแหน และภูมิใจในความเป็นชาติ มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ ตามแบบอย่างบรรพบุรุษในประวัติศาสตร์ และยึดแนวทางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   โดยใช้ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์  คิดอย่างมีวิจารณญาณ มุ่งแสวงหาความรู้ มีคุณธรรม และลักษณะอันพึงประสงค์ มีเจตคติที่ดีต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย เกิดความตระหนัก รักหวงแหนและภาคภูมิใจในความเป็นไทย

 

รหัสตัวชี้วัด

ส 4.1        ม.4-6/1,ม.4-6/2

ส 4.3        ม.4-6/1,ม.4-6/2

รวมทั้งหมด  4  ตัวชี้วัด

อาจารย์: เสาวลักษณ์ รักใหม่

การออกแบบและเทคโนโลยี ม.4 ภาคเรียนที่ 1

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี        รหัสวิชา ว31105

รายวิชาพื้นฐาน                                                           กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์     

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4     ภาคเรียนที่  1             เวลาเรียน   40  ชั่วโมง    จำนวน   1.0  หน่วยกิต 

         

          ศึกษา วิเคราะห์แนวคิดหลักของเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น และความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น ออกแบบ สร้าง หรือพัฒนาผลงานสำหรับแก้ปัญหาที่คำนึงถึง ผลกระทบต่อสังคมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการบริการ โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ซึ่งใช้ความรู้ทักษะ และเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ กลไก ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแก้ปัญหาได้อย่าง ถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย คำนึงถึงทรัพย์สินทางปัญญา ใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบและนำเสนอ ผลงาน


ตัวชี้วัด
ว. 4.1   เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)

          1. วิเคราะห์แนวคิดหลักของเทคโนโลยี ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นโดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ หรือ คณิตศาสตร์ รวมทั้งประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อมนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยี
           2. ระบุปัญหาหรือความต้องการที่มีผลกระทบต่อสังคม รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับ ปัญหาที่มีความซับซ้อนเพื่อสังเคราะห์วิธีการ เทคนิคในการแก้ปัญหา โดยคำนึงถึงความถูกต้องด้าน ทรัพย์สินทางปัญญา
          3. ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จำเป็นภายใต้เงื่อนไข และทรัพยากรที่มีอยู่ น าเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจด้วยเทคนิคหรือวิธีการที่หลากหลาย โดยใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบ วางแผนขั้นตอนการท างานและดำเนินการแก้ปัญหา
          4. ทดสอบ ประเมินผล วิเคราะห์และให้เหตุผลของปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบเงื่อนไข หาแนวทางการปรับปรุงแก้ไข และนำเสนอผลการแก้ปัญหา พร้อมทั้งเสนอแนวทางการพัฒนาต่อยอด
          5. ใช้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ กลไก ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีที่ ซับซ้อนในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย

รวมทั้งหมด 5 ตัวชี้วัด

อาจารย์: ภณิชชา ชมอินทร์

ธรณีวิทยา

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา  ธรณีวิทยา                                                                                 

รหัสวิชา ว31204

รายวิชาเพิ่มเติม                                                  

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4   ภาคเรียนที่ 1                          

เวลาเรียน  60 ชั่วโมง    จำนวน 1.5 หน่วยกิต

                                        

            ศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาวิทยาศาสตร์โลก เข้าใจโลกของเรา กระบวนการของโลก ใช้ความรู้เรื่องสมบัติทางกายภาพและทางเคมี ในการจำแนกแร่และหิน การหาอายุทางธรณีวิทยา ตารางธรณีกาล  กลุ่มหินที่สำคัญของประเทศไทย ความสำคัญของการศึกษาธรณีโครงสร้าง  ความเค้นและความเครียดในชั้นเปลือกโลก การวางตัวของชั้นหิน  รอยโค้ง  รอยเลื่อน  แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่ธรณีวิทยา และแผนที่อื่นๆ ประยุกต์ความรู้เกี่ยวกับแผนที่ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน  แหล่งทรัพยากรพลังงาน ทรัพยากรโลหะ และทรัพยากรอโลหะ ประยุกต์ความรู้เรื่องทรัพยากรไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ  แผ่นดินไหว สึนามิ แผ่นดินถล่ม แผ่นดินทรุด หลุมยุบ น้ำท่วม และภัยแล้ง ทำความเข้าใจธรรมชาติของธรณีพิบัติเพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ 

            เพื่อให้เกิดความรู้  ความคิด  ความเข้าใจ  มีความสามารถในการตัดสินใจ  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตของตนเองและดูแลรักษาสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เฝ้าระวังและพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน  มีจิตวิทยาศาสตร์  จริยธรรม  คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม

 

ผลการเรียนรู้

  1. สืบค้นข้อมูล และอธิบายความหมายของวิทยาศาสตร์โลก และกระบวนการต่างๆ ทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้น ทำให้โลกมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
  2. สืบค้นข้อมูล อภิปราย อธิบายความหมาย สมบัติการเกิดแร่และหิน กาลำดับชั้นหิน การแบ่งลักษณะหินออกเป็นหน่วยหิน
  3. สืบค้น อภิปราย และอธิบายเกี่ยวกับการแบ่งเวลาของโลกและการทำธรณีประวัติของโลก
  4. ทดลอง อภิปราย และอธิบายการเปลี่ยนลักษณะของธรณีโครงสร้าง
  5. สืบค้น และอธิบายเกี่ยวกับความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ การสร้างแผนที่ภูมิประเทศ แผนที่ธรณีวิทยา  และแผนที่อื่นๆ รวมถึงแผนที่ดังกล่าว
  6. สืบค้นข้อมูลและอธิบายเกี่ยวกับทรัพยากรธรณีของประเทศไทยกลุ่มต่างๆ และการใช้ประโยชน์
  7. สืบค้นข้อมูล และอภิปรายเกี่ยวกับแผ่นดินไหว สึนามิ แผ่นดินถล่ม น้ำท่วม สาเหตุและการปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากการเกิดธรณีพิบัติภัยดังกล่าว

 

รวมทั้งหมด 7  ผลการเรียนรู้

 

งานกราฟฟิกและแอนนิเมชั่น ม.4/2
วิชาเรียนระดับชั้น ม.4
Preview Course

อาจารย์: ศุทธวัต อมรรัชยาวิจารณ์

งานกราฟฟิกและแอนนิเมชั่น ม.4/2

คำอธิบายรายวิชา

 ว31206  รายวิชาเพิ่มเติม (งานกราฟฟิกและแอนนิเมชั่น)
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4     
จำนวน 1 หน่วยกิต
เวลา 40 ชั่วโมง

อาจารย์: ฉันทนา ทองหอม

คณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.4 ภาคเรียนที่ 1

คำอธิบายรายวิชา

 

          รหัสวิชา  ค31101                                                                                     รายวิชาคณิตศาสตร์

          กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์                                                                  เวลา   40  ชั่วโมง

          จำนวน   1.0  หน่วยกิต                                  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4                 ภาคเรียนที่  1

                  ศึกษาเกี่ยวกับเซต  การเขียนเซต  เซตจำกัดและเซตอนันต์  เซตที่เท่ากัน  เซตว่าง  แผนภาพของเวนน์ ออยเลอร์  เอกภพสัมพัทธ์  สับเซตและสับเซตแท้  เพาเวอร์เซต  การดำเนินการของเซต  อินเตอร์เซกชัน  ยูเนียน  คอมพลีเมนต์  ผลต่าง  การหาผลการดำเนินการของเซตตั้งแต่สองการดำเนินการขึ้นไป  จำนวนสมาชิกของเซตจำกัด  ประพจน์  การเชื่อมประพจน์ด้วยตัวเชื่อม  และ”  “หรือ”  “ถ้า...แล้ว”  “ก็ต่อเมื่อ”  นิเสธของประพจน์  การหาค่าความจริงของรูปแบบของประพจน์ 

โดยจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าโดยปฏิบัติจริง  ทดลอง  สรุป  รายงาน  เพื่อพัฒนาทักษะ/กระบวนการในการคิดคำนวณ  การแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์  และนำประสบการณ์ด้านความรู้  ความคิด  ทักษะกระบวนการที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์

รวมทั้งเห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์  สามารถทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ  รอบคอบ  มีความรับผิดชอบ  มีวิจารณญาณและเชื่อมั่นในตนเอง

การวัดและประเมินผล  ใช้วิธีการหลากหลายตามสภาพความเป็นจริงของเนื้อหา  และทักษะที่ต้องการวัด

  

ตัวชี้วัด

      ค 1.1  . 4/

อาจารย์: ธนัช ประดับศรี

คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ม.4

คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชา ค31201                                   รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม  

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์                     เวลา 60 ชั่วโมง/ภาคเรียน

จำนวน  1.5  หน่วยกิต            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4          ภาคเรียนที่ 1

         

ศึกษา ฝึกทักษะกระบวนการ  ในสาระต่อไปนี้

เซต  เซต  การดำเนินการระหว่างเซต  การแก้ปัญหาโดยใช้เซต

ตรรกศาสตร์  ประพจน์  การเชื่อมประพจน์  การหาค่าความจริงของประพจน์  การส้รางตารางค่าความจริง  รูปแบบของประพจน์ที่สมมูลกัน  สัจนิรันดร์  การอ้างเหตุผล  ประโยคเปิด  ตัวบ่งปริมาณ  ค่าความจริงของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ  สมมูลและนิเสธของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ

จำนวนจริง  จำนวนจริง  ระบบจำนวนจริง  พหุนามตัวแปรเดียว  การแยกตัวประกอบพหุนาม  สมการพหุนามตัวแปรเดียว  เศษส่วนของพหุนาม  การไม่เท่ากันของจำนวนจริง  อสมการพหุนามตัวแปรเดียว  ค่าสัมบูรณ์  สมการและอสมการค่าสัมบูรณ์ของพหุนามตัวแปรเดียว

โดยจัดประสบการณ์หรือการสร้างสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่ใกล้ตัว  ให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าโดยการปฏิบัติจริง  ทดลอง  สรุปรายงาน  เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการในการคิดคำนวณ  การแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์  และนำประสบการณ์ด้านความรู้  ความคิด ทักษะกระบวนการที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ  และใช้ในชีวิตประจำงันอย่างสร้างสรรค์

รวมทั้งเห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตสาสตร์  สามารถทำงานอย่างมีระบบระเบียบ  มีความรอบคอบ  มีความรับผิดชอบ  มีวิจารณญาณ  และมีความเชื่อมั่นในตนเอง  การวัดและประเมินผล  ใช้วิธีการที่หลากหลายตามสภาพจริงที่สอดคล้องกับเนื้อหา  และทักษะที่ต้องการวัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผลการเรียนรู้

รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม รหัสวิชา ค31201

จำนวน  1.5  หน่วยกิต            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4          ภาคเรียนที่ 1

หน่วยที่

ชื่อหน่วย

ผลการเรียนรู้

จำนวนชั่วโมง

อัตราส่วนคะแนน

รวม

ระหว่างเรียน

กลางภาค

ปลายภาค

K

P

A

1

เซต

1. มีความคิดรวบยอดในเรื่องเซตและการดำเนินการของเซต

2. เขียนแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์แสดงเซตและนำไปใช้ในการแก้ปัญหา

3. ตรวจสอบความสมเหตุสมผลของการให้เหตุผลโดยใช้แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์

15

8

4

3

10

-

25

2

ตรรกศาสตร์

1. หาค่าความจริงของประพจน์ได้

2. หารูปแบบของประพจน์ที่สมมูลกันได้

3.บอกได้ว่าการอ้างเหตุผลที่กำหนดให้สมเหตุสมผลหรือไม่

30

10

6

4

10

20

50

3

จำนวนจริง

1. มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับระบบจำนวนจริง

2. นำสมบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับจำนวนจริงและการดำเนินการไปใช้ได้

3. แก้สมการพหุนามตัวแปรเดียวดีกรีไม่เกินสี่ได้

4. แก้สมการและอสมการในรูปค่าสัมบูรณ์ได้

15

7

5

3

-

10

25

รวม

60

25

15

10

20

30

100

 

 

อาจารย์: นางสาวนพมาศ สุวรรณสิงห์

ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร 1

คำอธิบายรายวิชา

 

31201  ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร 1    ม. 4    ภาคเรียนที่ 1        20  ชั่วโมง      0.5   หน่วยกิต

          ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ และอธิบายที่ฟังและอ่านง่าย ๆ อ่านออกเสียงตัวอักษร คำศัพท์ ตามระบบพินอิน (Pinyin)  เลือกภาพตรงกับความหมาย ของคำและกลุ่มคำที่ฟัง เขียนคำ กลุ่มคำ ประโยคสั้น ๆ ง่าย ๆ ให้สัมพันธ์กับสื่อที่เป็นความเรียงและไม่ใช่ความเรียง พูดโต้ตอบด้วยคำและประโยคสั้น ๆ ง่าย ๆ ในการสื่อสารระหว่างบุคคล ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง และเรื่องใกล้ตัว พูดและทำท่าทางสุภาพตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของจีน บอกความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ใกล้ตัว โดยใช้กระบวนการทางภาษา กระบวนการกลุ่ม กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการคิด

          เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ ใช้ภาษาในการสื่อสาร ได้อย่างเหมาะสม เข้าใจวัฒนธรรมเจ้าของภาษา ตลอดจนใช้ภาษาจีนในการแสวงหาความรู้  ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนด้วยความเพลิดเพลิน โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สื่อเทคโนโลยี และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                  

ผลการเรียนรู้

1. ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ และอธิบายที่ฟังและอ่านง่าย ๆ

2. อ่านออกเสียงตัวอักษร คำศัพท์ ตามระบบพินอิน (Pinyin)

3. เลือกภาพตรงกับความหมายของคำและกลุ่มคำที่ฟัง

4. เขียนคำ กลุ่มคำ ประโยคสั้น ๆ ง่าย ๆ ให้สัมพันธ์กับสื่อที่เป็นความเรียงและไม่ใช่ความเรียง

5. พูดโต้ตอบด้วยคำและประโยคสั้น ๆ ง่าย ๆ ในการสื่อสารระหว่างผลการเรียนรู้

6. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง และเรื่องใกล้ตัว

7. พูดและทำท่าทางสุภาพตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของจีน

8. บอกความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ใกล้ตัว

    รวม 8 ผลการเรียนรู้ 

อาจารย์: Pornphan Khongrak

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน

คำอธิบายรายวิชา

รหัสวชิาอ31101ภาษาอังกฤษพื้นฐาน

กล่มุสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 

ช้ันมัธยมศึกษาปี ท่ี 4 ภาคเรียนท่ี 1 

เวลา 40 คาบ จานวน 1.0 หน่วยกติ

คำอธิบายรายวิชา

ปฏิบัติตามคคำแนะนนำในคู่มือการใช้งานต่างๆ คำชี้แจง คำอธิบาย และคพบรรยายท่ีฟังและอ่าน ตลอดจนอธิบายและเขียนประโยคและข้อความให้สัมพันธ์กับสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบต่างๆท่ีอ่าน รวมทั้งระบุและเขียนสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบต่างๆให้สัมพันธ์กับประโยคและข้อความที่ฟังหรืออ่าน จับใจความสกตัญญู วิเคราะห์ความสรุปความตีความและแสดงความคิดเห็นจากการฟังและอ่านเรื่องท่ีเป็น สารคดีและบันเทิงคดี พร้อมทั้งให้เหตุผลและยกตีวอย่างประกอบ สนทนาและเขียนโตต้อบข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เรื่องต่างๆใกล้ตัว ประสบการณ์ สถานการณ์ ข่าว/เหตุการณ์ ประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสังคม และสื่อสารอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม แสดงความคิดเห็นเก่ียวกับเรื่อง/ประเด็น/ข่าว/เหตุการณ์ท่ีฟังและ อ่านอย่างเหมาะสมและมีเหตุผลพูดและเขียนแสดงความคิดเห็นเก่ียว กับกิจกรรม ประสบการณ์ และ เหตุการณ์ ทั้งในท้องถิ่น สังคมและโลก พร้อมทั้งให้เหตุผลและยกตัวอย่างประกอบ พร้อมทั้งอธิบาย/   อภิปรายวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ และที่มาของขนบธรรมเนียมและประเพณีของเจ้า ของภาษา

โดยใช้กระบวนการค้นคว้า/สืบค้น บันทึกสรุปและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ และนพเสนอด้วยการพูดและการเขียน อธิบาย/เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างโครงสร้างประโยคได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งวิเคราะห์/อภิปรายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างวิถีชีวิตความเช่ือและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา กับของไทยและนาไปใช้อย่างมีเหตุผลรหัสตัวชี้วัด

ต1.1 ม.4-6/1-ม.4-6/4 ต1.2 ม.4-6/1-ม.4-6/4 ต1.3 ม.4-6/1,ต1.3 ม.4-6/3 ต2.1 ม.4-6/1-ม.4-6/3 ต2.2 ม.4-6/1-ม.4-6/2

ต 3.1 ม.4 - 6/1

ต4.1 ม.4-6/1 ต4.2 ม.4-6/2

รวมทั้งหมด

18 ตัวชี้วัด

 

อาจารย์: นางสาวพัลลภา บุญรังษี

ภาษาไทย 1 ภาคเรียนที่ 1 ม.4

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

รหัสวิชา   ท ๓๑๑๐๑                        รายวิชา    ภาษาไทย                     จำนวน    ๑   หน่วยกิต

ประเภทวิชา  พื้นฐาน                   จำนวน    ๒    ชั่วโมง/สัปดาห์                  เวลา    ๔๐   ชั่วโมง 

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่                               ภาคเรียนที่  ๑                 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย              ครูผู้สอน  นางสาวพัลลภา  บุญรังษี                              

คำอธิบายรายวิชา 

ศึกษาการอ่านออกเสียงร้อยแก้วและร้อยกรอง  อ่านจับใจความสำคัญ  อ่านวิเคราะห์  วิจารณ์  คาดคะเน  ตอบคำถาม  เขียนสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ  เขียนบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์  จดบันทึกการศึกษาค้นคว้า  พูดสรุปความรู้  แนวคิด  แสดงความคิดเห็น  ประเมินเรื่องจากการฟังและการดู  แต่งบทร้อยกรอง  ท่องจำและบอกคุณค่าบทอาขยานและบทร้อยกรอง  ศึกษาหลักการอ่านวรรณคดีและวรรณกรรม

โดยใช้ทักษะกระบวนการอ่าน  ฟัง  ดู  พูด  เขียน  อภิปราย  วิเคราะห์  สังเคราะห์  เปรียบเทียบ  ปฏิบัติ  นำเสนอผลงานอย่างมีมารยาท  รู้คุณค่าและสามารถนำความรู้และทักษะต่าง ๆ  ไปประยุกต์ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์

รหัสตัวชี้วัด                

ท ๑.๑       (ม.๔/๒, ม.๔/๓, ม.๔/๕, ม.๔/๘, ม.๔/๙)

ท ๒.๑       (ม.๔/๑, ม.๔/๔, ม.๔/๕, ม.๔/๖, ม.๔/๘)

ท ๓.๑       (ม,๔/๑, ม.๔/๔)

ท ๔.๑       (ม.๔/๒, ม.๔/๕, ม.๔/๖, ม.๔/๗)

ท ๕.๑       (ม.๔/๑, ม.๔/๕)

รวม  ๑๘  ตัวชี้วัด

เคมี ม.4 ภาคเรียนที่ 1
วิชาเรียนระดับชั้น ม.4
Preview Course

อาจารย์: กาญชนา เสพคง

เคมี ม.4 ภาคเรียนที่ 1

                                                                                  คำอธิบายรายวิชา

              รายวิชา เคมี 1                                                                                                                           รหัสวิชา ว 31221

          รายวิชาเพิ่มเติม                                                                                                                             กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1                                                                                                      เวลา 40 ชั่วโมง    จำนวน 1 หน่วยกิต

 

            ศึกษาแบบจำลองอะตอม สัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ อนุภาคมูลฐานของอะตอม การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม การจัดเรียงธาตุในตารางธาตุ แนวโน้มสมบัติบางประการของธาตุในตารางธาตุตามหมู่และตามคาบ สมบัติของธาตุโลหะแทรนซิชัน การเปรียบเทียบสมบัติกับธาตุโลหะในกลุ่มธาตุเรพรีเซนเททีฟ ศึกษาและอธิบายสมบัติและคำนวณครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสี ยกตัวอย่างการนำธาตุมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

           ศึกษาการเกิดพันธะไอออนิก สูตรและการเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก การเปลี่ยนแปลงพลังงานในการเกิดสารประกอบไอออนิก สมบัติของสารประกอบไอออนิก ปฏิกิริยาของสารประกอบไอออนิก ศึกษาการเกิดพันธะและชนิดของพันธะโคเวเลนต์ การเขียนสูตรและเรียกชื่อสารโคเวเลนต์ ความยาวพันธะและพลังงานพันธะในสารโคเวเลนต์ พลังงานที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาของสารโคเวเลนต์ รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์ สมบัติของสารโคเวเลนต์ โครงร่างตาข่าย ศึกษาการเกิดโลหะและสมบัติของโลหะ

          โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจ ตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล บันทึก จัดกลุ่มข้อมูล และการอภิปราย  เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถนำเสนอสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

 

ผลการเรียนรู้

1สืบค้นข้อมูลสมมติฐาน การทดลอง หรือผลการทดลองที่เป็นประจักษ์พยานในการเสนอ แบบจำลองอะตอมของนักวิทยาศาสตร์และอธิบายวิวัฒนาการของแบบจำลองอะตอม

2. เขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ และระบุจำนวนโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอนของอะตอมจากสัญลักษณ์นิวเคลียร์ รวมทั้งบอกความหมายของไอโซโทป

3อธิบาย และเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานหลักและระดับพลังงานย่อย เมื่อทราบเลขอะตอมของธาตุ

4ระบุหมู่ คาบ ความเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ ของธาตุเรพรีเซนเททีฟและธาตุแทรนซิชันในตารางธาตุ

5วิเคราะห์ และบอกแนวโน้มสมบัติของธาตุเรพรีเซนเททีฟตามหมู่และตามคาบ

6บอกสมบัติของธาตุโลหะแทรนซิชัน และเปรียบเทียบสมบัติกับธาตุโลหะในกลุ่มธาตุเรพรีเซนเททีฟ

7อธิบายสมบัติ และคำนวณครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสี

8สืบค้นข้อมูล และยกตัวอย่างการนำธาตุมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

9อธิบายการเกิดไอออนและการเกิดพันธะไอออนิก โดยใช้แผนภาพหรือสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิส

10เขียนสูตร และเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก

11คำนวณพลังงานที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยา การเกิดสารประกอบไอออนิกจากวัฏจักรบอร์น-ฮาเบอร์

12อธิบายสมบัติของสารประกอบไอออนิก

13เขียนสมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิของปฏิกิริยาของสารประกอบไอออนิก

14อธิบายการเกิดพันธะโคเวเลนต์แบบพันธะเดี่ยว พันธะคู่ และพันธะสาม ด้วยโครงสร้างลิวอิส

15เขียนสูตร และเรียกชื่อสารโคเวเลนต์

16วิเคราะห์ และเปรียบเทียบความยาวพันธะและพลังงานพันธะในสารโคเวเลนต์ รวมทั้งคำนวณพลังงานที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาของสารโคเวเลนต์จากพลังงานพันธะ

17คาดคะเนรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ โดยใช้ทฤษฎีการผลักระหว่างคู่อิเล็กตรอนในวงเวเลนซ์และระบุสภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์

18ระบุชนิดของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์ และเปรียบเทียบจุดหลอมเหลว จุดเดือด และการละลายน้ำของสารโคเวเลนต์

19สืบค้นข้อมูล และอธิบายสมบัติของสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายชนิดต่าง ๆ

20อธิบายการเกิดพันธะโลหะและสมบัติของโลหะ

21เปรียบเทียบสมบัติบางประการของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ สืบค้นข้อมูลและ นำเสนอตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะได้อย่างเหมาะสม

         รวมทั้งหมด  21  ผลการเรียนรู้

 

อาจารย์: ภณิชชา ชมอินทร์

วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ

 คำอธิบายรายวิชา                                                             

31101  รายวิชาพื้นฐาน ( วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4       ภาคเรียนที่ 1

จำนวน 1.0 หน่วยกิต

เวลา  40  ชั่วโมง     

     

ศึกษาความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆที่อยู่ในเอกภพ  โดยทำความเข้าใจเกี่ยวกับการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ  หลักฐานที่สนับสนุนทฤษฎีบิกแบง  กาแล็กซีและกาแล็กซีทางช้างเผือก สมบัติของดาวฤกษ์  การกำเนิดและวิวัฒนาการของดาวฤกษ์  กระบวนการเกิดระบบสุริยะและการแบ่งเขตบริวารของดวงอาทิตย์  โครงสร้างและปรากฎการณ์บนดวงอาทิตย์  การสำรวจอวกาศ เทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้  ศึกษาโครงสร้างโลก การแบ่งชั้นโครงสร้างโลกตามองค์ประกอบทางเคมีและสมบัติเชิงกล ธรณีสัณฐานและโครงสร้างทางธรณี  การแปรสัณฐานของแผ่นธรณี  ธรณีพิบัติภัย  การเกิดลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกตลอดจนการใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยา

เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ มีความสามารถในการตัดสินใจ มีทักษะปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  ด้านการคิดและการแก้ปัญหา ด้านการสื่อสาร สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตของตนเอง มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

 

รหัสตัวชี้วัด

         

3.1    6/1 , 6/2 , 6/3 , 6/4 , 6/5 , 6/6, , 6/7 , 6/8 , 6/9, , 6/10

3.2    6/1 , 6/2 , 6/3 , 6/4 , 6/5 , 6/6, , 6/7 , 6/8 , 6/9, , 6/10

          6/11 , ม 6/12, , ม 6/13 , ม 6/14

 

รวมทั้งสิ้น  24 ตัวชี้วัด

 

ชีววิทยา ม.4 ภาคเรียน 1
วิชาเรียนระดับชั้น ม.4
Preview Course

อาจารย์: Aunchalee Tongburee

ชีววิทยา ม.4 ภาคเรียน 1

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา ชีววิทยา     รหัสวิชา ว31231
รายวิชาเพิ่มเติม       กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์     
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4    ภาคเรียนที่  1            
จำนวน 1.0 หน่วยกิต 
เวลาเรียน  40 ชั่วโมง 

                 ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการศึกษาทางชีววิทยาและวิธีการทางวิทยาศาสตร์   ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต   เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต  ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต  เมแทบอลึซึม  ปฏิบัติการใช้กล้องจุลทรรศน์   โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์  กระบวนการลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์  การหายใจระดับเซลล์  การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสและไมโอซิส 

                 โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  การสืบเสาะหาความรู้   การสังเกต  การตั้งคำถาม  การสำรวจตรวจสอบ  การสืบค้นข้อมูล   การฝึกปฏิบัติการ  การทดลอง   การอภิปราย   การสร้างความคิดรวบยอด  การทำงานกลุ่ม  การสร้างค่านิยม  และการสื่อความ เพื่อให้เกิดความรู้  ความเข้าใจ  คิดวิเคราะห์  สังเคราะห์  และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ  ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง  เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมส่วนรวม  รวมทั้งเห็นคุณค่าและมีจิตวิทยาศาสตร์   มีคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์  และสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข

                    การวัดและประเมินผล  ด้วยวิธีที่หลากหลายตามสภาพความเป็นจริงให้สอดคล้องกับเนื้อหา  และทักษะที่ต้องการวัด

ผลการเรียนรู้

1. สืบค้นข้อมูล และอธิบายลักษณะที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต  

2. สืบค้นข้อมูล ตั้งปัญหา ตั้งสมมติฐาน ออกแบบและดำเนินการทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐานเกี่ยวกับการศึกษาทางชีววิทยา โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้

3. สืบค้นข้อมูล อภิปราย และยกตัวอย่างประโยชน์ของการศึกษาชีววิทยาต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม และชีวจริยธรรม

4. สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ และอภิปรายเกี่ยวกับโครงสร้างและหน้าที่ของสารอนินทรีย์และสารอินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบของเซลล์สิ่งมีชีวิต

5. สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ และอธิบายการเกิดปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต

6. สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ และอธิบายกลไกการทำงานของเอนไซม์ในการเร่งปฏิกิริยาเคมีในสิ่งมีชีวิต การยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ และกระบวนการเมแทบอลึซึมได้

7. สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายโครงสร้างและหน้าที่ของออร์แกเนลล์เซลล์พืชและเซลล์สัตว์

8. ระบุส่วนประกอบ และอธิบายหน้าที่ของส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงเชิงประกอบ

9.  อธิบายและฝึกปฏิบัติการทดลองศึกษาตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏภายใต้จุลทรรศน์แบบใช้แสงเชิงประกอบ  และการดูแลรักษากล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงเชิงประกอบที่ถูกต้อง

10. สืบค้นข้อมูล ทดลอง อธิบาย เขียนแผนภาพ และเปรียบเทียบเกี่ยวกับกระบวนการลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์แบบต่างๆ

11. อธิบาย สรุปขั้นตอน และเปรียบเทียบเกี่ยวกับการหายใจระดับเซลล์ในภาวะที่มีออกซิเจนเพียงพอและไม่เพียงพอ

12. อธิบาย สรุป และเปรียบเทียบเกี่ยวกับการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสและแบบไมโอซิส

     รวมทั้งหมด  12 ผลการเรียนรู้

     ครูผู้สอน  นางสาวอัญชลี   ทองบุรี

 

ฟิสิกส์ ม.4 ภาคเรียนที่ 1
วิชาเรียนระดับชั้น ม.4
Preview Course

อาจารย์: ฮ่าหลีม๊ะ บิลรัตน์แก้ว

ฟิสิกส์ ม.4 ภาคเรียนที่ 1

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา ฟิสิกส์  รหัสวิชา ว31213

รายวิชาเพิ่มเติม                                                          กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์     

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4     ภาคเรียนที่  1             เวลาเรียน   60  ชั่วโมง    จำนวน   1.5  หน่วยกิต 

         

ศึกษาความรู้ทางฟิสิกส์ ประวัติความเป็นมา พัฒนาการของหลักการและแนวคิดทางฟิสิกส์ การวัดปริมาณทางฟิสิกส์ ความคลาดเคลื่อนในการวัด การแสดงผลการทดลองในรูปของกราฟ ความหมายจากกราฟเส้นตรง ความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่ง การกระจัด ความเร็ว ความเร่งของการเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวตรงที่มีความเร่งคงตัวจากกราฟและสมการ ค่าความเร่งโน้มถ่วงของโลก แรงลัพธ์ของแรงสองแรงที่ทำมุมต่อกัน กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน กฎความโน้มถ่วงสากล การใช้กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันกับสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ แรงเสียดทานระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุคู่หนึ่ง ๆ ในกรณีที่วัตถุหยุดนิ่งและวัตถุเคลื่อนที่ สัมประสิทธิ์ความเสียดทานระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุคู่หนึ่ง ๆ และนำความรู้เรื่องแรงเสียดทานไปใช้ในชีวิตประจำวัน การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ และปริมาณต่าง ๆ ของการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสู่ศูนย์กลาง รัศมีของการเคลื่อนที่ อัตราเร็วเชิงเส้น อัตราเร็วเชิงมุม มวลของวัตถุในการเคลื่อนที่แบบวงกลมในระนาบระดับ การประยุกต์ใช้ความรู้การเคลื่อนที่แบบวงกลมในการอธิบายการโคจรของดาวเทียม

โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล การสังเกต การวิเคราะห์ การอธิปราย การอธิบายและการสรุปผล

เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิด และความเข้าใจ มีความสามารถในการตัดสินใจ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตตนเอง ตลอดจนมีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่ถูกต้อง

 

ผลการเรียนรู้

  1. สืบค้นและอธิบายการค้นหาความรู้ทางฟิสิกส์ ประวัติความเป็นมา รวมทั้งพัฒนาการของหลักการและแนวคิดทางฟิสิกส์ที่มีผลต่อการแสวงหาความรู้ใหม่และการพัฒนาเทคโนโลยีได้
  2. วัดและรายงานผลการวัดปริมาณทางฟิสิกส์ได้ถูกต้องเหมาะสม โดยนำความคลาดเคลื่อนในการวัดมาพิจารณาในการนำเสนอผล รวมทั้งแสดงผลการทดลองในรูปของกราฟ วิเคราะห์และแปลความหมายจากกราฟเส้นตรงได้
  3. ทดลองและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่ง การกระจัด ความเร็ว และความเร่งของการเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวตรงที่มีความเร่งคงตัวจากกราฟและสมการ รวมทั้งทดลองหาค่าความเร่งโน้มถ่วงของโลก และคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
  4. ทดลองและอธิบายการหาแรงลัพธ์ของแรงสองแรงที่ทำมุมต่อกันได้
  5. เขียนแผนภาพของแรงที่กระทำต่อวัตถุอิสระ ทดลองและอธิบายกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันและการใช้กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันกับสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ รวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
  6. อธิบายกฎความโน้มถ่วงสากลและผลของสนามโน้มถ่วงที่ทำให้วัตถุมีน้ำหนัก รวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
  7. วิเคราะห์ อธิบาย และคำนวณแรงเสียดทานระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุคู่หนึ่ง ๆ ในกรณีที่วัตถุหยุดนิ่งและวัตถุเคลื่อนที่ รวมทั้งทดลองหาสัมประสิทธิ์ความเสียดทานระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุคู่หนึ่ง ๆ และนำความรู้เรื่องแรงเสียดทานไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
  8. อธิบาย วิเคราะห์ และคำนวณปริมาณต่าง ๆ   ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ และทดลองการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ได้  
  9. ทดลองและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรงสู่ศูนย์กลาง รัศมีของการเคลื่อนที่ อัตราเร็วเชิงเส้น อัตราเร็วเชิงมุม และมวลของวัตถุในการเคลื่อนที่แบบวงกลมในระนาบระดับ รวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และประยุกต์ใช้ความรู้การเคลื่อนที่แบบวงกลมในการอธิบายการโคจรของดาวเทียมได้

 

รวมทั้งหมด 9 ผลการเรียนรู้

อาจารย์: พิชชาภา คงแก้ว

สุขศึกษาและพลศึกษา 1

รหัสวิชา พ31101                                            ชื่อวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา 1        

รายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษาพื้นฐาน        กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4      เวลา 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (0.5 หน่วยกิต)  ภาคเรียนที่ 1

          ศึกษาวิเคราะห์กระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบผิวหนัง ระบบกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ วางแผนดูแลสุขภาพตามภาวการณ์เจริญเติบโตและพัฒนาการของตนเองและบุคคลในครอบครัว อิทธิพลของครอบครัว เพื่อน สังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศและการดำเนินชีวิต ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ ในการเล่นกีฬา ออกกำลังกายและเล่นกีฬาที่เหมาะสมกับตนเองอย่างสม่ำเสมอและใช้ความสารถของตนเองเพิ่มศักยภาพของทีมลดความเป็นตัวตนคำนึงผลที่เกิดต่อสังคม การมีมารยาทในการดู การเล่นกีฬาและการแข่งขันกีฬาด้วยความมีน้ำใจนักกีฬา และนำไปใช้ปฏิบัติทุกโอกาสจนเป็นบุคลิกภาพที่ดี

          โดยใช้ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ การเรียน ความรู้ความเข้าใจ ทักษะปฏิบัติ กระบวนการสร้างความตระหนัก กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  กระบวนการกลุ่ม การอภิปรายและการมีส่วนร่วม

          เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มีความซื่อสัตย์สุจริต มุ่งมั่นในการทำงานรักความเป็นไทย  อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตสาธารณะ

 

รหัสตัวชี้วัด

พ 1.1  ม.4/1-2 

พ 2.1  ม.4/1  

พ 3.1   ม.4/1  

พ 3.2  ม.4/1,3