Global searching is not enabled.
ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

16 รายวิชาทั้งหมด

อาจารย์: นายสุรเชษฐ์ ช่วยดู

หลักการในการเลือกสาขาเรียนต่อระดับปริญยาตรี

   หลักการและแนวคิดในการเลือกสาขาเรียน 

1.พิจารณาจากความชอบ ส่วนตัว  

     วิชาเรียนที่ชอบ เราชอบเรียนวิชาอะไรมากก็ควรเลือกสาขาเรียนที่ใช้วิชาที่เราชอบเป็นพื้นฐาน  

     วิถีชีวิตที่ชอบ  เราชอบการใช้แนวทางการดำเนินชีวิตอย่างไร เช่น ชอบการพบเจอคน มีโลกส่วนตัว ชอบการคิดค้นท้าทาย  ชอบการช่วยเหลือคนอื่น  รักสัตว์เป็นพิเศษ  รักเด็กเป็นพิเศษ ควรเลือกสาขาเรียนที่เวลาทำงานสอดค้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตที่เราชอบ

     ระดับชั้นทางสังคมที่เราชอบ เช่น ชอบสังคมชั้นสูง(วงการธุรกิจ)  สังคมชั้นกลาง  สังคมชั้นล่าง (ชาวบ้าน)ควรเลือกสาขาที่มีวิถีชีวิตการทำงานที่สอดคล้องกับกลุ่มสังคมที่เราชอบ

2.พิจารณาตลาดแรงงาน  

การทำงานในอนาคต สาขาที่จบแล้วไม่ตกงาน มีงาน มีคงามมั่นคงในการทำงาน มีโอกาศก้าวหน้าในหน้าที่การงาน  รายได้จากการทำงาน                                             

3.ฐานะทางการเงินของครอบครัว  

ค่าใช้จ่ายในการเรียนแต่ละสาขา มีราคาไม่เท่ากัน นักเรียนสามารถดูราคาได้จากหน้าเว็ปมหาวิทยาลัย  ควรเลือกสาขาที่มีราคาที่ครอบครัวสามารถส่งเสียเรียนจนจบได้  

4.พื้นฐานทางอาชีพของครอบครัว เพื่อว่าอนาคตเมื่อเราอายุมากขึ้น จะเก็บเงิน เก็บความรู้ประสพกาณณ์ แล้วกลับมาสานต่อสิ่งที่พ่อแม่ทำอยู่ให้เจริญก้าวหน้าต่อไป 

5.ความสามารถในการเรียนจบ 

ควรเป็นสาขาที่ไม่ยากเกินความสารถของเราที่จะเรียนให้จบปริญญาได้ เพราะหากเลือกสาขาที่ยากเกินไปอาจจะเรียนไม่จบ หรือถูกรีไทร์ได้ 

อาจารย์: นุชรี ตั้งเคี้ยน

ทัศนศิลป์ ม.3 ภาคเรียนที่ 1

คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาทัศนธาตุในสิ่งแวดล้อม  งานทัศนศิลปื เทคนิค วิธีการของงานศิลปินในการสร้างงานทัศนศิลป์  การใช้ทัศนธาตุและหลักการออกแบบสร้างงานทัศนศิลป์  อย่างน้อย 3 ประเภท การผสมผสานวัสดุต่างๆในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ 2 มิติ และ 3 มิติ หลักการจัดนิทรรศการ แนวทางการประกอบอาชีพทางศิลปะและศึกษาความแตกต่างของงานทัศนศิลป์ในแต่ละยุคสมัยที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรมไทยและสากล

   ฝึกปฏิบัติการใช้ทัศนธาตุและหลักการออกแบบ  สร้างสสรค์งานทัศนศิลป์ 2 มิติ และ 3 มิติ โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ตามความถนัด  ความสนใจของตนเองพร้อมทั้งใช้ทักษะ การระบุ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ การคัดแยก การเปรียบเทียบ การประเมิน กระบวนการคิดสร้างสรรค์ และทักษะการนำความรู้ด้านทัศนศิลป์ไปใช้ในการจัดนิทรรศการศิลปะ และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างสร้างสรรค์

  แสดงความคิดเห็น วิพากษ์ วิจารณ์งานทัศนศิลป์อย่างอิสระ มีสุนทรียภาพ มีศิลปะนิสัยที่ดี ชื่นชมเห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล มีความรักชาติ ศาสตร์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ

ตัวชี้วัด

ศ 1.1 ม.3/1-11

ศ 1.2 ม.3/1-2

อาจารย์: สายัณต์ พรหมมี

ดนตรี 3

   ศึกษาองค์ประกอบที่ใช้ในงานดนตรีและศิลปะอื่น  อิทธิพลของดนตรีที่มีต่อบุคคลและสังคม  วิวัฒนาการของดนตรีแต่ละยุคสมัย  ลักษณะเด่นที่ทำให้งานดนตรีนั้นได้รับการยอมรับ 

   ร้องเพลง  เล่นดนตรีเดี่ยวและรวมวงโดยเน้นเทคนิคการร้อง  การเล่น  การแสดงออก  และคุณภาพเสียง  แต่งเพลงสั่น ๆ จังหวะง่าย ๆ  อธิบายเหตุผลในการเลือกใช้องค์ประกอบดนตรีในการสร้างสรรค์งานดนตรีของตนเอง  เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างดนตรีของตนเองและผู้อื่น  นำเสนอหรือจัดการแสดงดนตรีที่เหมาะสมโดยบูรณาการกับสาระการเรยนรู้อื่นในกลุ่มศิลปะ

เพื่อให้ผู้เรียนชื่นชม  และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเห็นคุณค่าของดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล  เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์  และสมรรถนสำคัญของผู้เรียน

รหัสตัวชี่วัด

ศ ๒.๑ ม.๓/๑ม, - ๗

ศ ๒/๒ ม.๓/๑-๒

รวม ๙  ตัวชี้วัด

อาจารย์: สันติพร ส่อสืบ

วิทยาศาสตร์ ม.3 ภาคเรียนที่ 1 (3/4,3/5)

คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชา ว23101    รายวิชาวิทยาศาสตร์         กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ภาคเรียนที่ 1             เวลา  60  ชั่วโมง       จำนวน 1.5 หน่วยกิต

          ศึกษา  วิเคราะห์  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับการแก้ปัญหา ลักษณะของโครโมโซม  ความสำคัญของสารพันธุกรรม  กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม  โครโมโซมและการค้นพบของเมนเดล โรคทางพันธุกรรม  โครโมโซมของมนุษย์และความผิดปกติทางพันธุกรรม สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม การใช้ประโยชน์จากความรู้ด้านพันธุศาสตร์  ศึกษาเรื่องคลื่นกล คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การสะท้อนของแสง การหักเหของแสง ความสว่าง ปฎิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ  ความสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์  โลก ดวงจันทร์  ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ  กลุ่มดาวฤกษ์  กาแล็กซีและเอกภพ  เทคโนโลยีอวกาศ  กล้องโทรทรรศน์  ดาวเทียม  ยานอวกาศ  โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้  การสำรวจตรวจสอบ  การสืบค้นข้อมูลและการอภิปราย  เพื่อให้เกิดความรู้  ความคิด  ความเข้าใจ  สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้  มีความสามารถในการตัดสินใจ  นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์  จริยธรรม  คุณธรรม  และค่านิยมที่เหมาะสม

อาจารย์: ศิริวรรณ ทองนวน

การออกแบบและเทคโนโลยี

คำอธิบายรายวิชา

ว23103  การออกแบบและเทคโนโลยี      
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี               ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3     
จำนวน 0.5 หน่วยกิต                                                     เวลา 20 ชั่วโมง
      ศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุหรือปัจจัยที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี และความสัมพันธ์ของ เทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ และทรัพยากร โดยวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อสรุปกรอบของ ปัญหา เปรียบเทียบและเลือกข้อมูลที่จําเป็น โดยคํานึงถึงทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อออกแบบวิธีการแก้ปัญหาใน งานอาชีพด้านการเกษตร อาหาร พลังงานและขนส่ง โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม รวมทั้งเลือกใช้ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ กลไก ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และ ปลอดภัย
ตัวชี้วัด
4.1 เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)
      1. วิเคราะห์สาเหตุ หรือปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และความสัมพันธ์ของ เทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ เพื่อเป็นแนวทางการแก้ปัญหา หรือพัฒนางาน
      2. ระบุปัญหาหรือความต้องการของชุมชนหรือท้องถิ่น เพื่อพัฒนางานอาชีพ สรุปกรอบของปัญหา รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา โดยคํานึงถึงความถูกต้องด้านทรัพย์สิน ทางปัญญา
      3. ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จําเป็นภายใต้ เงื่อนไขและทรัพยากรที่มีอยู่ นําเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจด้วยเทคนิคหรือวิธีการที่ หลากหลาย วางแผนขั้นตอนการทํางานและดําเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน
      4. ทดสอบ ประเมินผล วิเคราะห์ และให้เหตุผลของปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบ เงื่อนไข พร้อมทั้งหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไข และนําเสนอผลการแก้ปัญหา
      5. ใช้ความรู้ และทักษะเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือ กลไก ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้องกับ ลักษณะของงาน และปลอดภัยเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน
 
รวมทั้งหมด  5  ตัวชี้วัด

ประวัติศาสตร์ ม.3 ภาคเรียนที่ 1
วิชาเรียนระดับชั้น ม.3
Preview Course

อ.นูรีย๊ะ บ่าวเบ็ญหมัด: นูรีย๊ะ บ่าวเบ็ญหมัด

ประวัติศาสตร์ ม.3 ภาคเรียนที่ 1

heart..คำอธิบายรายวิชา..heart

รายวิชา   ประวัติศาสตร์   ส32102              

กลุ่มสาระการเรียนรู้   สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่    3       

เวลา 20 ชั่วโมง            

จำนวน 0.5 หน่วยกิต

 

          ศึกษาขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์สำหรับการศึกษาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นใน ท้องถิ่นตนเอง การน าวิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ในการศึกษาเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว และ ท้องถิ่นของตน ที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์ของภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก (ยกเว้นเอเชีย) ที่มีผลต่อพัฒนาการ ทางประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก (ยกเว้นเอเชีย) โดยสังเขป อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกที่มีผลต่อพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ความร่วมมือและ ความขัดแย้งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 สงครามเย็น และองค์การความ ร่วมมือระหว่างประเทศ โดยใช้กระบวนการสืบค้น กระบวนการตรวจสอบ วิพากษ์ ตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ การใช้ เหตุผล กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการประชาธิปไตย กระบวนการเผชิญสถานการณ์ กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม การน าเสนอข้อมูล กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการคิดสังเคราะห์ และวิธีการทาง ประวัติศาสตร์  เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมโลกอย่างสันติสุข  เห็นคุณค่าในการใช้ วิธีการทางประวัติศาสตร์เพื่อสรรค์สร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์

รหัสตัวชี้วัด

มาตรฐาน ส 4.1  ตัวชี้วัด ม. 3/1 ม. 3/2

มาตรฐาน ส 4.2 ตัวชี้วัด ม. 3/1 ม. 3/2

รวมทั้งหมด 4 ตัวชี้วัด

 

heart..ผลการเรียนรู้..heart

1.วิเคราะห์เรื่องราวเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ได้อย่างมีเหตุผลตามวิธีการ การทางประวัติศาสตร์  

2.ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ ที่ตนสนใจ

3.วิเคราะห์พัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ในด้านต่างๆ

4.วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์

5.วิเคราะห์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ และอิทธิพลต่อการพัฒนาชาติไทย

6.วิเคราะห์บทบาทของไทยในสมัยประชาธิปไตย

 

heart..โครงสร้างรายวิชา..heart

หน่วยการเรียนรู้ที่ (บทที่)                                                          เวลาเรียน (ชั่วโมง)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์

          1.1 เรื่องวิธีการทางประวัติศาสตร์                                                        1

          1.2 เรื่องหลักฐานทางประวัติศาสตร์                                                    1

          1.3 เรื่องขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์                                       1

          1.4 เรื่องการนำวิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ในการศึกษาเรื่องราว

                ที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว และท้องถิ่นของตน                        1

                                               

อาจารย์: จริยา ยุทธพงศ์

ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร ม.3

คำอธิบายรายวิชา

23201    ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร ม.3     ภาคเรียนที่  1         20  ชั่วโมง    0.5   หน่วยกิต

          ปฎิบัติตามคำสั้ง อ่านออกเสียงคำ ประโยค และข้อความง่ายๆได้ถูกต้องตามหลักการอ่านออกเสียง เข้าใจบทสนทนาที่มีภาพประกอบ ใช้ภาษาง่าย ๆ แสดงความคิดเห็น แสดงความต้องการโดยการพูดและการเขียน ให้ข้อมูลง่าย ๆ เกี่ยวกับตนเองด้วยภาพและข้อความสั้น ๆ ใช้ภาษาต่างประเทศตามสถานการณ์ต่าง ๆ ในโรงเรียน ใช้ทักษะการจำ การถาม เพื่อให้ได้คำตอบที่แสดงข้อเท็จจริง และความเข้าใจ เห็นประโยชน์ของการใช้ภาษาต่างประเทศในชีวิตประจำวันเพื่อติดตามข้อมูล เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างในการออกเสียงประโยคชนิดต่างๆ การใช้เครื่องหมายวรรคตอน และการเรียงลำดับตามโครงสร้างประโยคของภาษาจีนและภาษาไทย  อธิบายความเป็นมาและความสำคัญของเทศกาลต่างๆและชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของจีนกับไทย และเข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมจีนตามความสนใจ

คณิตศาสตร์  ม.3 ภาคเรียนที่ 1
วิชาเรียนระดับชั้น ม.3
Preview Course

อาจารย์: นางสาวพรศิริ คงชู

คณิตศาสตร์ ม.3 ภาคเรียนที่ 1

คำอธิบายรายวิชา 

    รหัสวิชา  ค23101                                                                  รายวิชาคณิตศาสตร์

    กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์                                                    เวลา   60  ชั่วโมง

    จำนวน   1.5  หน่วยกิต              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3                      ภาคเรียนที่  1

_____________________________________________________________________________        

          ศึกษา ค้นคว้า ฝึกทักษะ/กระบวนการเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้

          อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว การแก้ปัญหาโดยใช้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ

          การแยกตัวประกอบของพหุนามที่มีดีกรีสูงกว่าสอง  การยกตัวประกอบของพหุนามที่อยู่ในรูปผลบวกและผลต่างกำลังสาม การยกตัวพหุนามที่มีดีกรีสูงกว่าสาม

          สมการกำลังสองตัวแปรเดียว การแก้สมการกำลังสองตัวแปรเดียว การแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้สมการกำลังสองตัวแปรเดียว

          ความคล้าย  การใช้สมบัติของรูปสามเหลี่ยมคล้ายในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล

          กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง  การนำความรู้เกี่ยวกับฟงก์ชันชันกำลังสอง ไปใช้ในกการแก้ปญหา

          สถิติ  แผนภาพกล่อง การอ่านและแปลความหมายจากแผนกล่อง

          โดยใช้ความรู้ ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม  โดยใช้วิธีการที่หลากหลายในการแก้ปัญหา  ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจและสรุปผลได้อย่างเหมาะสม  ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องชัดเจน  เชื่อมโยงความรู้ต่างๆในคณิตศาสตร์และนำความรู้ หลักการ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น  

          เพื่อให้ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน มุ่งมั่นในการทำงาน มีความรับผิดชอบ  มีความรอบคอบ มีเหตุผล เห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์

รหัสตัวชี้วัด

          ค 1.2 .3/1   1.2 .3/2   1.3 .3/1   1.3 .3/2    2.2 .3/1   3.1 .3/1  

 

อาจารย์: นางลัดดา ดวดไธสง

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ม3

คำอธิบายรายวิชาภาษอังกฤษพื้นฐาน

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 เวลา 3 คาบ/สัปดาห์

เวลารวม 60 คาบ/ภาค     จำนวนหน่วยการเรียน 1.5 หน่วยการเรียน

               ศึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามและใช้คำขอร้อง ให้คำแนะนำ คำชี้แจง คำอธิบายอย่างถูกต้องเหมาะสมตามกาลเทศะ  อ่านออกเสียงคำศัพท์ สำนวน ประโยค ข้อความ ข่าว โฆษณา และบทร้อยกรองสั้น ๆ ได้ถูกต้องตามหลักการอ่าน เลือกระบุและเขียนหัวข้อเรื่อง ใจความสำคัญและสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบต่าง ๆ  แสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังและอ่าน พร้อมให้เหตุผลและยกตัวอย่างประกอบ พูดสนทนาและเขียนบรรยายข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เรื่องต่าง ๆ ใกล้ตัว สถานการณ์ ข่าว เรื่องที่อยู่ในความสนใจของสังคมอย่างไม่ถูกต้อง เหมาะสมตามกาลเทศะ เลือกใช้ภาษา น้ำเสียงและกิริยาท่าทาง อธิบายเปรียบเทียบเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับวัฒนธรรมของไทย เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความสนใจ ค้นคว้า รวบรวม และสรุปข้อมูล ข้อเท็จจริง และนำเสนอด้วยการพูดและการเขียนที่เกี่ยวกับสาระการเรียนรู้อื่น จากแหลงเรียนรู้และสื่อสารในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน สถานศึกษา ชุมชน และสังคม อย่างถูกต้องเหมาะสมตามกาลเทศะโดยให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการในด้านการฟัง พูด อ่านและเขียน

             ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียน มีความรู้ และเข้าใจในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร เห็นประโยชน์ของการใช้ภาษาในการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพ และมีเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ภาษาอังกฤษกับทฤษฎีเชิงวิทยาศาสตร์ 5
วิชาเรียนระดับชั้น ม.3
Preview Course

อาจารย์: Mr. Parptawan Hameson

ภาษาอังกฤษกับทฤษฎีเชิงวิทยาศาสตร์ 5

ภาษาอังกฤษกับทฤษฎีเชิงวิทยาศาสตร์ 5  อ23205 (เพิ่มเติม)

คำอธิบายรายวิชา     

ศึกษา วิเคราะห์ ทดลองเกี่ยวกับโครงสร้างและการทำงานของระบบต่างๆของมนุษย์และสัตว์ และความสัมพันธ์ของระบบต่างๆ พฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า การขยายพันธุ์ปรับปรุงพันธุ์ อาหารและสารอาหาร  ธาตุและสารประกอบ การจำแนกกลุ่มธาตุตามสมบัติของธาตุ การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากธาตุและสารประกอบอย่างถูกต้องเหมาะสม การแยกสาร การเปลี่ยนแปลงของสสาร การเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบ ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี การเขียนสมการเคมี  ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน เลือกใช้วัสดุและสารรอบตัว ผลของสารเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีสมรรถนะสำคัญ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นำความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ อยู่อย่างพอเพียง และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล คิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และมีจิตวิทยาศาสตร์



ภาษาไทย 5  ม.3 ภาคเรียนที่ 1
วิชาเรียนระดับชั้น ม.3
Preview Course

อาจารย์: นางสาวเนตรชนก ตูลเพ็ง

ภาษาไทย 5 ม.3 ภาคเรียนที่ 1

คำอธิบายรายวิชา
ท23101 รายวิชา ภาษาไทย 5
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
จำนวน 1.5 หน่วยกิต 
เวลา 60 ชั่วโมง 

อ่านออกเสียงร้อยแก้วและร้อยกรอง อ่านจับใจความจากสื่อ เขียนกรอบแนวคิด    วิเคราะห์ วิจารณ์ และประเมินเรื่องที่อ่าน แสดงความคิดเห็น ตีความ แสดงแนวคิด มารยาทการอ่าน  เขียนย่อความ  คัดลายมือ เขียนคำขวัญ คำคม คติพจน์ จดหมายกิจธุระ ชีวประวัติ เขียนอธิบาย แสดงความคิดเห็น โต้แย้ง วิเคราะห์ วิจารณ์ มารยาทการเขียน  พูดแสดงความคิดเห็น มารยาทในการฟัง การดูและการพูด   การแต่งกลอนสุภาพ        คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ  คำไทยแท้  ความสัมพันธ์ของเสียงกับความหมาย      ระดับภาษา  สรุปเนื้อหาวรรณคดีประเภทบันเทิงคดี   วิเคราะห์ คุณค่า ข้อคิดจากวรรณคดี ท่องจำและบอกคุณค่าบทอาขยาน  และบทร้อยกรองที่มีคุณค่า

 

อาจารย์: ปัญฑิกา มลยง

วิทยาศาสตร์ ม.3 ภาคเรียนที่ 1 (3/1-3/3)

คำอธิบายรายวิชา

วิทยาศาสตร์ 5                                                         กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ภาคเรียนที่ 1              เวลา  60  ชั่วโมง           จำนวน 1.5 หน่วยกิต

 

          ศึกษา  วิเคราะห์  ความเร่ง  ผลของแรงลัพธ์ที่มีต่อวัตถุ  แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา  แรงพยุงของของเหลว  แรงเสียดทาน  โมเมนต์ของแรง  การเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวตรงและแนวโค้ง  งานและพลังงาน  พลังงานศักย์และพลังงานจลน์  การเปลี่ยนรูปพลังงาน  กฎการอนุรักษ์พลังงาน  ความสัมพันธ์ระหว่าง              ความต่างศักย์ไฟฟ้า  กระแสไฟฟ้า  และความต้านทานไฟฟ้า  วงจรไฟฟ้าในบ้าน  พลังงานไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้า  การคำนวณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้  การต่อวงจรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น  โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  การสืบเสาะหาความรู้  การสำรวจตรวจสอบ  การสืบค้นข้อมูลและการอภิปราย  เพื่อให้เกิดความรู้  ความคิด  ความเข้าใจ  สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้  มีความสามารถในการตัดสินใจ  นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน  มีจิตวิทยาศาสตร์  จริยธรรม  คุณธรรม  และค่านิยมที่เหมาะสม

 

ตัวชี้วัด

          ว  4.1  ม.3/1,  ม.3/2,  ม.3/3

          ว  4.2  ม.3/1,  ม.3/2,  ม.3/3

          ว  5.1  ม.3/1,  ม.3/2,  ม.3/3,  ม.3/4,  ม.3/5

          ว  8.1  ม.1/1,  ม.1/2,  ม.1/3,  ม.1/4,  ม.1/5,  ม.1/6,  ม.1/7,  ม.1/8,  ม.1/9

 

รวมทั้งหมด  20  ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นาฏศิลป์ ม.3
วิชาเรียนระดับชั้น ม.3
Preview Course

อาจารย์: ว่าที่ร.ต.หญิงเสาวลักษณ์ นาคะสุวรรณ์

นาฏศิลป์ ม.3

คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชา ศ23101  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ                จำนวน 1 หน่วยกิต         เวลา  40  ชั่วโมง
        ศึกษาความรู้พื้นฐานทางนาฏศิลป์และละครสร้างสรรค์ ด้วยการพัฒนาทักษะและการสังเกต การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 สามารถปฏบัติการเคลื่อนไหวอย่างอิสระ ตามจินตนาการด้วยท่าทาง ลีลา ความงาม การรับรู้จังหวะการใช้เสียง บทบาทสมมติและภาษาการแสดงออก ถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก จินตนาการ และเกิดความรัก ชื่นชม รับรู้นาฏศิลป์อันเป็นมรดไทย 
ศึกษาความรู้พื้นฐานทางนาฏศิลป์และละครสร้างสรรค์ ด้วยการพัฒนาทักษะและการสังเกต การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 สามารถปฏบัติการเคลื่อนไหวอย่างอิสระ ตามจินตนาการด้วยท่าทาง ลีลา ความงาม การรับรู้จังหวะการใช้เสียง บทบาทสมมติและภาษาการแสดงออก ถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก จินตนาการ และเกิดความรัก ชื่นชม รับรู้นาฏศิลป์อันเป็นมรดไทย 

         รหัสตัวชี้วัด

                 ศ 3.1 ม.3/1-4

                 ศ 3.2 ม.3/1

สังคมศึกษา ม.3 ภาคเรียนที่ 1
วิชาเรียนระดับชั้น ม.3
Preview Course

อาจารย์: ศุภษร จันทร์ศักดิ์รา

สังคมศึกษา ม.3 ภาคเรียนที่ 1

คำอธิบายรายวิชา

 

รายวิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม                                                   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

รหัสวิชา ส 23101                            จำนวน 1.5 หน่วยกิต                เวลา 60 ชั่วโมง/ภาคเรียนที่ 1

     ศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ความสำคัญของพระพุทธศาสนา ในฐานะที่ช่วยสร้างสรรค์อารยธรรมและความสงบสุขแก่โลก พุทธประวัติจากพระพุทธรูปปางต่าง ๆ อธิบาย สังฆคุณและข้อธรรมสำคัญในกรอบอริยสัจ 4 ในเรื่องทุกข์ (ธรรมที่ควรรู้) ประกอบด้วยขันธ์ 5 (ไตรลักษณ์) สมุทัย (ธรรมที่ควรละ) ประกอบด้วย หลักกรรม (วัฏฏะ 3) ปปัญจธรรม 3 (ตัณหา, มานะ, ทิฏฐิ) นิโรธ (ธรรม ที่ควรรู้) ประกอบด้วย อัตถะ 3 มรรค (ธรรมที่ควรเจริญ) ประกอบด้วย มรรคมีองค์ 8 ปัญญา 3 สัปปุริสธรรม 7 บุญกิริยาวัตถุ 3 อุบาสกธรรม มงคล 38 (มีศิลปวิทยา พบสมณะ ฟังธรรมตามกาล สนทนาธรรมตามกาล) พุทธศาสนสุภาษิต (อตฺตา หเวชิต เสยฺโย ธมฺมจารี สุข เสติ ปมาโท มจฺจุโน ปท และ สุสฺสูส ลภเต ปญ ) พุทธ ปณิธาน 4 ในมหาปรินิพพานสูตร หน้าที่และบทบาทของสาวกและการปฏิบัติตนต่อสาวกได้ถูกต้อง ประวัติวัน สำคัญทางพระพุทธศาสนา การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ การเสนอแนวทางในการธำรงรักษาศาสนาที่ตนนับ ถือ ความแตกต่างของการกระทำความผิดระหว่างคดีอาญาและคดีแพ่ง ปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง ในประเทศ และการเสนอแนวคิดในการลดความขัดแย้ง การดำรงชีวิตอย่างมีความสุขในประเทศและสังคมโลก ระบอบการปกครองต่าง ๆ ที่ใช้ในปัจจุบัน เปรียบเทียบระบอบการปกครองของไทยกับประเทศอื่น ๆ ที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันในมาตรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง การมีส่วน ร่วมและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทยและ แนวทางแก้ไข โดยใช้กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการทางขัดเกลาสังคม กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม การประพฤติตนตามแบบอย่างการดำเนินชีวิต และข้อคิดจากประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา ชาดก ศาสนิกชนตัวอย่างเพื่อนำไปพัฒนาและแก้ปัญหาของชุมชนและสังคม การปฏิบัติตนตามหลักธรรม ในการพัฒนาตนเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการทำงานและ การมีครอบครัว การพัฒนาจิตเพื่อการเรียนรู้และดำเนินชีวิตด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ (วิธีคิดแบบอริยสัจ วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย) สวดมนต์แปล แผ่เมตตา บริหารจิตและเจริญปัญญาด้วยอานาปานสติ ปฏิบัติตน อย่างเหมาะสมต่อบุคคลต่าง ๆ ตามหลักศาสนาตามหน้าที่ของศาสนิกชนที่ดี ศาสนพิธี พิธีกรรม เพื่อให้เกิดความตระหนักในความสำคัญของพระพุทธศาสนากับปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต มีคุณธรรม จริยธรรม การยอมรับ ความแตกต่างและวิถีการดำเนินชีวิตของศาสนิกชนในศาสนาอื่น การมีส่วนร่วมในการปกป้องคุ้มครองผู้อื่น ตามหลักสิทธิมนุษยชน การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและเลือกรับวัฒนธรรมสากลที่เหมาะสมรักความเป็นไทย อยู่อย่างพอเพียง มีจิตสาธารณะ เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม สามารถดำเนินชีวิตอย่างสันติสุขในสังคมไทยและ สังคมโลก

ตัวชี้วัด

ส 1.1  ม.3/1 ม.3/2 ม.3/3 ม.3/4 ม.3/5 ม.3/6 ม.3/7 ม.3/8 ม.3/9 ม.3/10

ส 1.2 ม.3/1 ม.3/2 ม.3/3 ม.3/4 ม.3/5 ม.3/6 ม.3/7

ส 2.1 ม.3/1 ม.3/2 ม.3/3 ม.3/5

 ส 2.2 ม.3/1 ม.3/2 ม.3/3 ม.3/4

รวม 25 ตัวชี้วัด

 

อาจารย์: พิชชาภา คงแก้ว

สุขศึกษา 3

รหัสวิชา พ23101                                            ชื่อวิชา สุขศึกษา 5    

รายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษาพื้นฐาน        กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3      เวลา 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (0.5 หน่วยกิต)  ภาคเรียนที่ 1

          ศึกษา วิเคราะห์ การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม อิทธิพลและความคาดหวังของสังคม ต่อการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น สื่อโฆษณาที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของวัยรุ่น อนามัยเจริญพันธุ์แม่และเด็ก การวางแผนครอบครัว ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ สาเหตุความขัดแย้งในครอบครัว แนวทางป้องกันแก้ไขความขัดแย้งในครอบครัว

          โดยใช้ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการความคิดรวบยอด กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กระบวนการเรียนความรู้ความเข้าใจ กระบวนการกลุ่ม การสังเกต การคิดวิเคราะห์ การอภิปรายและการมี    ส่วนร่วม

          เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เปรียบเทียบ รวบรวมข้อมูล เสนอแนวทางป้องกันแก้ไข อย่างมีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง รักความเป็นไทยและมีจิตสาธารณะ

 

รหัสตัวชี้วัด

พ 1.1  ม.3/1-3

พ 2.1  ม.3/1-3